Page 97 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 97
ในจังหวัดต่างๆ ทว่าไม่ได้ระบุสถานที่ยุติการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน และเป็นการมุ่งสอนให้ความรู้เฉพาะ
เยาวชนหญิงเท่านั้น
กระทรวงศึกษาธิการได้สนับสนุนบางหน่วยงานที่ยังใช้วาทกรรมในบริบทดั้งเดิมของสังคม
มาใช้กับบริบทสังคมปัจจุบัน เช่น โครงการอดเปรี้ยวไว้กินหวาน (สถาบันครอบครัวไทย, ๒๕๕๔)
โดยสถาบันครอบครัวไทย ที่พยายามรื้อฟื้นค่านิยม “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” เพื่อจะจัดการกับปัญหา
พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากสถาบันฯ เชื่อว่าการตั้งครรภ์รวมไปถึงการยุติ
การตั้งครรภ์ของเยาวชนเป็นผลจากวัฒนธรรมในโลกยุคไร้พรมแดนผ่านสื่อต่างๆ ท�าให้เกิดปัญหา
การมีทักษะชีวิตที่ต�่า ขาดภูมิคุ้มกันทางจิตใจ มีพฤติกรรมทางเพศแบบเสรีและขาดการรับผิดชอบ
ตลอดจนความบกพร่องทางคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งทางโครงการมีจุดประสงค์ดังนี้
๑. สอนให้วัยรุ่นทั้งชายและหญิงรู้และเข้าใจถึงผลเสียของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน
ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และศีลธรรม
๒. สร้างความตระหนักเกี่ยวกับคุณค่าและความส�าคัญของการรักนวลสงวนตัว การรู้จักยับยั้ง
ชั่งใจในเรื่องเพศ การมีทัศนคติและการมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องเพศให้กับวัยรุ่นชาย
และหญิง
๓. ปลูกฝังจิตส�านึกให้วัยรุ่นทั้งชายและหญิงรัก หวงแหน และเห็นคุณค่าของการรักษา
พรหมจรรย์ไว้จนถึงวันแต่งงาน
๔. ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ที่จ�าเป็นส�าหรับวัยรุ่นในการวางตัว การคบเพื่อน การคบเพื่อนต่างเพศ
การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อเพศสัมพันธ์ และการรู้จักปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์
๕. สร้างพลัง “ล้อมคอกกันวัวห�ย” ภายใต้โครงการ “อดเปรี้ยวไว้กินหว�น” (สถาบัน
ครอบครัวไทย, ๒๕๕๔)
โดยใช้หลักสูตรอบรมอดเปรี้ยวไว้กินหวาน มุ่งใช้เฉพาะนักเรียนมัธยมศึกษาและนักศึกษา
ในระดับอาชีวะ ซึ่งได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ และมีกรอบ
แนวความคิดหลักสูตรดังต่อไปนี้
96 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน