Page 91 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 91

อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขมีความพยายามอย่างมากในการดูแลและป้องกันรักษา

                 สุขภาพและการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพทั้งทางกายและใจ รวมทั้งสิทธิของผู้หญิงที่จะ

                 ไม่ตกอยู่ในอันตรายจากการตั้งครรภ์ ขาดบริการสุขภาพที่ปลอดภัย การให้ค�าปรึกษา ซึ่งเป็นการรักษา

                 สิทธิมนุษยชนและสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์อย่างหนึ่ง ด้วยการพยายามพัฒนาคุณภาพการบริการของ

                 สถานพยาบาลให้สอดคล้องและยึดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเป็นหลัก เช่น “โครงก�รพัฒน�

                 บริก�รสุขภ�พและอน�มัยก�รเจริญพันธุ์สำ�หรับวัยรุ่น” โดยกองอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

                 (กองอนามัยการเจริญพันธุ์, ๒๕๔๙) ที่เป็นความพยายามพัฒนามาตรฐานและระบบประกันคุณภาพ

                 การให้บริการสุขภาพของโรงพยาบาลต่างๆ มีสภาพแวดล้อมและการให้บริการที่เป็นมิตรต่อเยาวชน

                 และมีเป้าหมายที่จะให้โรงพยาบาลของรัฐร้อยละ ๘๐ บรรลุมาตรฐานนี้ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๖

                 ภายใต้การสนับสนุนจาก UNFPA และหน่วยงานองค์กรต่างๆ ซึ่งได้ถูกน�าไปทดลองใช้ในพื้นที่อื่น

                 เช่น คลินิกเอกชน ศูนย์การค้า และชุมชนด้วยเช่นกัน ที่มุ่งพัฒนามาตรฐานบริการสุขภาพและอนามัย

                 การเจริญพันธุ์ส�าหรับวัยรุ่น สร้างกรอบแนวทางส�าหรับสถานบริการในการด�าเนินงานจัดบริการ

                 สุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่มีความเป็นมิตรส�าหรับวัยรุ่นและเยาวชน อายุ ๑๐ - ๒๔ ปี

                 ทั้งที่อยู่ในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษา กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนที่อยู่ในชนบทห่างไกล สลัม

                 เด็กเร่ร่อน และเด็กด้อยโอกาส ลดช่องว่างของวัย ที่การบริการสุขภาพและอนามัยการเจริญพันธุ์

                 ถูกมองว่าเป็นบริการส�าหรับผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันเยาวชนเองไม่กล้าไปใช้บริการด้วยเหตุผล

                 หลายประการ เช่น ไม่รู้ข้อมูลแหล่งให้บริการ สถานบริการไกลบ้านและโรงเรียน การเดินทางและเวลา

                 ให้บริการไม่สะดวก และผู้ให้บริการไม่มีความเป็นมิตรและชอบตัดสิน ซึ่งตั้งแต่ผู้บริหาร ผู้ให้บริการ

                 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ในสถานบริการจะต้องใช้มาตรฐานของโครงการเป็นแนวทางในการ

                 ด�าเนินการจัดบริการที่เรียกว่า Friendly Health Services for Adolescents and Youth

                 (กองอนามัยการเจริญพันธุ์, ๒๕๔๙)


                       มาตรการและยุทธศาสตร์ของโครงการหลายข้อสอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิอนามัย

                 เจริญพันธุ์ที่ผู้หญิงมีสิทธิที่จะไม่ตกอยู่ในอันตรายจากการตั้งครรภ์ การขาดบริการสุขภาพที่ปลอดภัย

                 ขาดบริการให้ค�าปรึกษา และขาดข้อมูลข่าวสารในเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ และ

                 ต้องได้รับบริการที่มีความละเอียดอ่อน เข้าใจมิติเพศภาวะ และยึดถือความสมัครใจของผู้รับบริการ

                 ที่ได้ข้อมูลครบถ้วนเป็นหลัก และได้รับความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับโดยเจ้าหน้าที่และระบบ

                 บริการ (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐) เช่น







                             90    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96