Page 22 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 22
มากไปกว่านั้น ทั้งสามประเทศต่างมีวัฒนธรรมและกระบวนทัศน์ที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งส่งผล
ต่อการบัญญัติกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามกรอบของศาสนา ความเชื่อ และบรรทัดฐานทางสังคม ดังนี้
๑. เวียดน�ม มีประชากรร้อยละ ๘๒ ที่ถือว่าตัวเองไม่มีศาสนา แต่ได้รับอิทธิพลจากลัทธิ
ขงจื๊อ
๒. ฟิลิปปินส์ มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์ถึงร้อยละ ๙๒ และในจ�านวนนี้ นับถือคริสต์
นิกายโรมันคาทอลิกถึงร้อยละ ๘๓ ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันที่ทรงอิทธิพลมากในการควบคุมเรื่องอนามัย
เจริญพันธุ์และการวางแผนครอบครัวของคน โดยเฉพาะเพศหญิง
๓. อินโดนีเซีย มีประชากรนับถือศาสนาอิสลามถึงร้อยละ ๘๖.๑ และหลักการของศาสนา
มีบทบาทเหนือกฎหมายต่างๆ ซึ่งทุกมาตราจะมีการก�ากับเอาไว้ว่า ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักการ
ทางศาสนาและไม่ขัดกับศีลธรรมอันดีของสังคม
l นโยบายของรัฐ หลักการ และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ
ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรตามกฎหมายต่างๆ เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก
พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้น
รวมทั้งการด�าเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว ว่ามีความเพียงพอและเหมาะสม
ต่อการป้องกัน ดูแลแก้ไขปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร และการคุ้มครองสิทธิของ
เยาวชนหญิงที่ประสบปัญหาดังกล่าวหรือไม่เพียงใด
ก�รสัมภ�ษณ์ แบ่งออกเป็น
ก�รสัมภ�ษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) กลุ่มเป้าหมายในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี
นครปฐม และเพชรบุรี ดังนี้
l กลุ่มเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อายุระหว่าง ๑๕ - ๒๔ ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่ม
เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ต่อและยุติการตั้งครรภ์ จ�านวน ๓๒ คน
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 21