Page 18 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 18
การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศศึกษา เยาวชนหญิงถูกกระท�าละเมิดทางเพศ น�าไปสู่
การตั้งครรภ์และเป็นมารดาที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งต้องลาออกจากโรงเรียน ท�าให้เสียโอกาส
ทางการศึกษา ขาดความพร้อมที่จะด�ารงชีวิตอย่างมีคุณภาพ เกิดความเครียด ความกังวล เป็นปัญหา
สุขภาพจิต บางรายหาทางออกด้วยการท�าแท้งซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพเยาวชนโดยตรง หรือ
ฆ่าตัวตาย ขณะเดียวกันส่งผลต่อความเครียดในครอบครัวจากความผิดหวัง อับอาย ฯลฯ
เมื่อพิจารณาในมิติสิทธิมนุษยชน ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมได้รับผลกระทบ
หลายด้านในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ไม่ได้รับสิทธิต่างๆ ซึ่งเยาวชนทุกคนที่มีอายุต�่ากว่าสิบแปดปีพึง
ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และป้องกัน และดูแลแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง
เด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้อง
ประกันสิทธิของเด็กที่จะได้รับการคุ้มครองและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ อีกทั้งสิทธิที่จะได้รับ
การคุ้มครองทางกฎหมายที่เหมาะสม ทั้งก่อนและหลัง การเกิด นอกจากนี้ ปัญหาดังกล่าวยังส่งผล
กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรองและ
คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เช่น สิทธิในชีวิตและร่างกาย
ตามมาตรา ๓๒ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา ตามมาตรา ๔๙ สิทธิในการอยู่รอดและได้รับ
การพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาตามศักยภาพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ตามมาตรา ๕๒
เป็นต้น กลุ่มเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมจึงถือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการถูกละเมิดหรือได้รับ
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมที่ต้องการความช่วยเหลือ ปกป้อง คุ้มครองเป็นกรณีพิเศษทั้งทางด้านการศึกษา
การสาธารณสุข การพัฒนาและฟื้นฟูเยียวยาทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งสมควรมีการศึกษาถึงสภาพ
ปัญหาดังกล่าวในมิติสิทธิมนุษยชน หลักการ แนวทาง นโยบาย และมาตรการในการคุ้มครองสิทธิของ
เยาวชนหญิง ตลอดจนการด�าเนินการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ว่ามีผลให้เยาวชนหญิงได้รับ
การคุ้มครองและการช่วยเหลือให้สามารถเข้าถึงสิทธิต่างๆ ดังกล่าวได้อย่างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
ดังนั้น ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับมอบหมายจากส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ท�าการ
ศึกษาวิจัยเรื่อง “ปัญห�เย�วชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน” เพื่อศึกษา
และเสนอแนะแนวทาง รวมถึงมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกัน ดูแล แก้ไขปัญหาเยาวชนหญิง
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 17