Page 21 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 21
๑. พื้นที่ในก�รศึกษ� (Study Site)
การวิจัยนี้เลือกศึกษาในพื้นที่เขตเมือง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือ นครปฐม
นนทบุรี และชนบท ได้แก่ เพชรบุรี เนื่องจากมีประชากรกลุ่มเป้าหมาย และมีบริบทที่สามารถให้
ภาพตัวแทนในการสะท้อนปัญหา ตลอดจนเป็นพื้นที่ที่มีเครือข่ายการท�างานเรื่องการแก้ไขปัญหา
เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งมีเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ ดังนี้
l การคัดเลือกพื้นที่ของเมืองที่เป็นเมืองหลวงและปริมณฑลของประเทศอันได้แก่
กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี เนื่องจากเป็นตัวแทนของชุมชนเมืองที่สามารถจัดระบบบริการ
และการสนับสนุนอย่างครบวงจรให้กับเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ทั้งในแง่บริการ
ด้านสุขภาพ สวัสดิการสังคม การศึกษา และกฎหมาย
l ในส่วนการเลือกจังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากเป็นตัวแทนของชุมชนในเขตชนบทที่
เป็นที่ตั้งของโรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาใน อ�าเภอท่ายาง ที่มีผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดบริการ
การศึกษาที่เปิดโอกาสให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์มีโอกาสในการศึกษาต่อในสถานศึกษา ซึ่งเป็นการ
จัดการศึกษาที่มีมิติสิทธิมนุษยชน จึงได้ท�าการคัดเลือกพื้นที่ของจังหวัดนี้ เพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง
ศึกษาในการท�าวิจัยครั้งนี้
๒. วิธีก�รเก็บข้อมูลก�รวิจัย
การวิจัยเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์
ก่อนวัยอันควร มีดังนี้
l กฎหมาย เอกสารทางวิชาการ หนังสือ ต�ารา รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องใน
ประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึงหลักการและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ
ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ตามกฎหมายของต่างประเทศ ๓ ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์
เวียดนาม และอินโดนีเซีย ทั้งนี้เพราะทั้งสามประเทศล้วนเป็นสมาชิกในภูมิภาคที่ก�าลังก้าวเข้าสู่
ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘ และเพื่อให้งานวิจัยสอดรับกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
20 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน