Page 148 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 148
๒) สิทธิในคว�มเป็นส่วนตัว (Rights to Privacy)
จากการให้ข้อมูลของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในชุมชน พบว่า แทบทุกรายได้รับการ
ถูกละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัวจากญาติและคนในชุมชนที่ไม่ได้ตระหนักว่า การพูดปากต่อปาก
หรือการพูดเสียงดังให้คนอื่นได้ยินเกี่ยวกับเรื่องราวการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของเยาวชนหญิงนั้นจะ
ท�าให้ผู้ถูกกล่าวถึงได้รับความอับอาย หรือเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว สะท้อนให้เห็นถึง
การขาดความรู้ความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชนในสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลซึ่งเป็นการ
ละเมิดสิทธิเพราะความไม่รู้หรือไม่ตั้งใจ แต่ท�าไปด้วยความเคยชิน
“หนูนั่งเล่นอยู่หน้าบ้าน ป้าข้างบ้านเขาก็มาถามด้วยเสียงดังเลยว่ามึงท้องหรือเปล่า
เนี่ย ดูอวบๆ หนูอายมาก”
เช่นเดียวกับเยาวชนหญิงในโรงเรียน ที่เล่าให้ฟังว่าเคยถูกคุณครูจับจ้องและเรียกไปถามว่า
”เธอ ท้องใช่ไหม เพราะเห็นว่าเธออ้วนขึ้นและชอบนั่งหลับในห้องเรียน ชีพจรที่เต้น
หน้าอกก็ผิดปรกติ”
การตั้งค�าถามดังกล่าว พบว่านักเรียนหญิงรู้สึกเหมือนถูกจับจ้อง และละเมิดความเป็น
ส่วนตัวอย่างมาก อีกทั้งนักเรียนหญิงบางคนถูกตั้งค�าถามในพื้นที่สาธารณะ ไม่ได้เป็นการถูกถาม
อย่างเป็นส่วนตัว ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธินี้ในสถานศึกษาโดยครูอาจารย์
๓) สิทธิในก�รได้รับข้อมูลข่�วส�รและก�รศึกษ� (Rights to Information and
Education)
จากการให้ข้อมูลของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมในชุมชนพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ไม่ได้รับ
ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิในการศึกษาในสถานศึกษาเดิมแม้ว่าจะตั้งครรภ์ในวัยเรียนก็ตาม ท�าให้เยาวชน
หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมที่ตัดสินใจตั้งครรภ์ต่อได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิในการได้รับ
ข้อมูลข่าวสารและการศึกษาจากสถานศึกษาที่ปกปิดหรือไม่เผยแพร่ข้อมูลที่เยาวชนควรจะได้รับ
เพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะศึกษาต่อไปได้หรือไม่ เท่ากับว่าสถานศึกษาบีบบังคับให้เยาวชน
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 147