Page 150 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 150
๔) สิทธิในก�รตัดสินใจว่�จะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด (Rights to Decide Whether
or When to Have Children or Rights to Self-determination)
จากการสัมภาษณ์เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองมีสิทธิใน
การตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด สะท้อนให้เห็นถึงการท�างานสร้างความตระหนักใน
สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในมิติสิทธิมนุษยชนที่ควรจะได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน ไม่เช่นนั้นก็จะ
เกิดการละเมิดสิทธิในเรื่องด้านนี้ไปเรื่อยๆ โดยผู้ปกครองหรือเจ้าหน้าที่เป็นผู้ท�าหน้าที่ในการ
ตัดสินใจแทนด้วยความชอบธรรม ท�าให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมขาดการตระหนักรู้ถึงสิทธิของ
ตนที่ถูกละเมิดและขาดการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบเนื้อตัวร่างกายของตนเอง เมื่อเกิดอะไรขึ้นกับ
ชีวิตก็มักจะโทษคนอื่นที่ตัดสินใจแทนตนเอง การตระหนักรู้ในสิทธิดังกล่าวจะช่วยให้เยาวชนหญิง
เคารพคุณค่าในตนเองและเตรียมความพร้อมในเรื่องเพศสัมพันธ์โดยเลือกตัดสินใจได้ว่าจะมีบุตรหรือไม่
และจะมีเมื่อใด ผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด
ทั้งนี้ ไม่เพียงเป็นการละเมิดสิทธิในการ
ตัดสินใจของเยาวชนเรื่องการมีบุตร ยังเป็นการ
ละเมิดสิทธิเสรีภาพแห่งความคิด (Rights to
Freedom of Thought) ด้วย จากการสัมภาษณ์
เยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่เป็นอิสระจากการถูก
บีบบังคับทางความคิด ทั้งสิทธิที่จะได้รับข้อมูล
ข่าวสารด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัย
เจริญพันธุ์ในกรณีทั้งจะยุติการตั้งครรภ์หรือ
ด�ารงครรภ์ต่อ รวมไปถึงสิทธิที่จะปฏิเสธการให้
บริการสุขภาพที่ขัดแย้งกับความคิด ความเชื่อ
และความต้องการของตนเอง อ�านาจในการ
ตัดสินใจของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์มักอยู่ที่
ผู้ปกครองมากกว่า ทั้งการบังคับให้ไปท�าแท้ง
หรือให้ตั้งครรภ์ต่อ ขณะเดียวกันจากการสัมภาษณ์
ความรู้เรื่องเพศจากโรงเรียน โครงการป้องกัน
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 149