Page 143 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 143
“เหมือนกับว่า สมมติถ้าเราเริ่มรู้ตัวเราก็ไม่กล้าพูดกับแม่เรา เพราะเรากลัวแม่เราจะ
เสียใจ เพราะแม่เราเลี้ยงเราอยู่คนเดียว เราก็ไม่กล้าพูดกับเค้า เรากลัวเค้าเสียใจ ถ้าป้าเรา
ถามเราก็ได้แค่ระบายกับป้าเรา เค้าถามเรา เราก็บอกเค้าหมด หนูไปยังงี้ๆๆ ...... เค้าเป็น
ผู้ใหญ่แล้ว”
เช่นเดียวกับเยาวชนหญิงอีกคนหนึ่งที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัว ไม่สบายใจและปลอดภัยที่
จะปรึกษา ขอความรู้เรื่องอนามัยเจริญพันธุ์เมื่อตั้งครรภ์
“ตอนแรกก็คิดอย่างงั้นเหมือนกัน แต่พอบอกไป เหมือนกับมันตรงข้าม คุณแม่เค้า
ไม่ว่าไม่อะไรเลยนะ เค้าบอกท�าไมถึงไม่บอกตั้งแต่แรก”
ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์พบว่า เนื่องจากเยาวชนหญิงรู้สึกว่าตนเองต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่ท�าให้
ผู้ปกครองเสียใจ ท�าให้ไม่กล้ารักษาสิทธิ ออกความคิดเห็นหรือตัดสินใจต่อเรื่องที่ตนเองควรมี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าจะยุติหรือตั้งครรภ์ต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่พ่อแม่เองก็ละเมิดสิทธิของลูกโดย
ความหวังดีและคิดว่าการตัดสินใจของตนเองนั้นถูกต้องและเหมาะสมแล้ว จึงดูเหมือนว่าการแก้
ปัญหาการตั้งครรภ์ของเยาวชนภายในครอบครัวเป็นอีกการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่เยาวชน
หญิงส่วนใหญ่ต้องเผชิญ ซึ่งสะท้อนจากการสนทนาระหว่างนักวิจัยกับเยาวชนหญิงที่ผู้ปกครองเป็น
ผู้ตัดสินใจแทนในเรื่องการตั้งครรภ์ทั้งการด�ารงครรภ์และยุติการตั้งครรภ์
จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ปัญหาเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ในมิติสิทธิมนุษยชนที่พบเห็นมากคือ
การละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์โดยผู้ปกครองที่เยาวชนหญิงมีความต้องการที่จะยุติการตั้งครรภ์
แต่ผู้ปกครองพยายามเกลี้ยกล่อมโน้มน้าวให้ด�ารงครรภ์ต่อ ท�าให้เยาวชนหญิงต้องสูญเสียโอกาส
ในการเรียน ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากความเชื่อเรื่องการท�าแท้งจะน�าไปสู่ความไม่เจริญก้าวหน้าในชีวิต
เพราะบาปกรรมและวิญญาณเด็กที่ในครรภ์ที่เสียชีวิตจะตามอาฆาตพยาบาท ซึ่งถือว่าเป็นการ
ละเมิดสิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด
อย่างไรก็ตามยังพบว่า มีผู้ปกครองกลุ่มหนึ่งไม่ได้มีมายาคติเรื่องการท�าแท้ง แต่ละเมิดสิทธิ
มนุษยชนสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ด้วยการบังคับใช้อ�านาจความเป็นผู้ปกครองชี้น�าให้เยาวชนหญิง
142 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน