Page 146 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 146
• สิทธิในความเป็นส่วนตัว (Rights to Privacy)
• สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to Information and Education)
• สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด (Rights to Decide Whether or
When to Have Children or Rights to Self-determination)
• สิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ (Rights to Health Care and Health Protection)
๑) สิทธิในก�รมีชีวิตอยู่อย่�งมีศักดิ์ศรีคว�มเป็นมนุษย์ (Rights to Life)
จากการให้ข้อมูลของเยาวชนหญิงที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ ได้เล่าประสบการณ์การถูกละเมิด
สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จากเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการในขณะที่ไปรับบริการ
จากหน่วยงานรัฐที่ให้บริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติที่อยู่เบื้องหลัง
การกระท�าที่ดูเหมือนความปรารถนาดีที่ต้องการอบรมสั่งสอนผู้มารับบริการที่เป็นเยาวชนไม่ให้
ยุ่งเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์จนเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมอีก แต่ทัศนคติดังกล่าวยังเป็นที่มาของการละเมิด
สิทธิมนุษยชนเพราะขาดความรู้ความเข้าใจในมิติสิทธิมนุษยชน
“ เข้าไปปุ๊บเค้าก็เอาบัตรประชาชนเราไป เค้าถามเราว่าประจ�าเดือนไม่มากี่เดือนแล้ว
เราก็บอกเค้าไป บอกปุ๊บเค้าก็เอาชื่อเราไป ... เอาเข้าไป ไปนั่งรอหน้าห้องอัลตราซาวนด์
แล้วเอาเครื่องที่เค้าซาวนด์เด็กอะนั้นแหละ ซาวนด์เรา เสร็จก็ให้เราออกมา ถ้ามันไม่ติด
เที่ยงมันก็คงไม่นานหรอก แต่หนูไปมันติดเที่ยงเค้าก็เลยให้ลงมากินข้าว แล้วบ่ายโมงค่อย
ให้เราขึ้นไป ขึ้นไปรอหน้าห้องซาวนด์ เรียกเราเข้าไปหา เหมือนกับพยาบาลเข้าไปคุยถาม
เราว่าท�าไมเรียนอยู่อายุเท่านี้ ท�าไมถึงมาท�าอย่างนี้ แล้วก็คนที่แต่งแบบพยาบาลนี้แหละ
ถามเรา ก็ว่าคราวหน้าอย่าให้เห็นมาอีกนะ”
เช่นเดียวกับข้อมูลที่ได้จากการให้สัมภาษณ์ของเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ต่อ สะท้อนถึง
การให้บริการของสถานพยาบาลใกล้บ้านที่เธอไปรับบริการว่า
“หมอบางคนก็ท�าหน้ายังไงไม่รู้ บางคนน่ะ เค้าไม่ค่อยนี่กับเรา ไม่ค่อยกันเอง”
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 145