Page 152 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 152
๓.๗ กระบวนการคุ้มครองเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์
โดยไม่พร้อม ในประเทศไทยในมิติสิทธิมนุษยชน
จากข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เยาวชนหญิง เยาวชนชาย และ
เจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งที่เป็นผู้บริหารโรงเรียน ครูแนะแนว ครูฝ่ายปกครอง ครูฝ่ายพยาบาล ผู้อ�านวยการ
โรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับกฎหมาย
มาตรการ กลไก การด�าเนินการและบทบาทหน้าที่ของกระทรวงต่างๆ ที่มีต่อการตั้งครรภ์ของเยาวชน
หญิงที่ชัดเจน การท�างานของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข เป็นไป
ตามดุลยพินิจของผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่มีการเปลี่ยนแปลงตามวาระ โดยผู้รับบริการส่วนใหญ่
ที่เป็นเยาวชนหญิงและพ่อแม่ผู้ปกครองยังขาดข้อมูลข่าวสารที่ควรจะได้รับอย่างรอบด้าน เห็นควร
ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบแต่ละภาคส่วนต้องมีการท�างานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อประชาสัมพันธ์
และจัดบริการให้เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและรอบด้าน
ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ระดับลึก
เยาวชนหญิงและการสนทนากลุ่มเยาวชนชาย
เกี่ยวกับวิธีการการแก้ปัญหาเยาวชนที่ตั้งครรภ์
โดยไม่พร้อม พบว่าการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ยัง
เป็นแบบแผนเดิมๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง หรือเพื่อน
ที่ผ่านประสบการณ์บอกต่อเพื่อนที่ก�าลังประสบ
ปัญหา มาจากการถ่ายทอดชุดประสบการณ์ ที่
ไม่เพียงไม่รอบด้าน แต่ยังไม่ปลอดภัย เช่น การ
กินยาขับประจ�าเดือนซึ่งหาซื้อได้ตามร้าน
ขายยาทั่วไปที่ระบุในฉลากว่าห้ามสตรีมีครรภ์
รับประทาน การชกท้อง การกระโดด การซ้อน
มอเตอร์ไซค์ซิ่งเพื่อให้ลูกแท้งออกมาเอง
ซึ่งจากการสัมภาษณ์วิธีดังกล่าวไม่ประสบ
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 151