Page 142 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 142

ส่วนข้อมูลที่ได้รับจากการสนทนากลุ่มเยาวชนชายที่เป็นนักกิจกรรมของโรงเรียนและเป็น

                  ผู้ช่วยครูในการท�างานกิจกรรม เช่น เป็นนักเรียนของลูกเสือกองร้อยพิเศษและศูนย์ข่าวเยาวชนไทย

                  พบว่าการถูกปลูกฝังด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่จากครอบครัว บวกกับการเป็นที่รู้จักและยอมรับ

                  ของเพื่อนๆ ในโรงเรียนท�าให้เยาวชนชายกลุ่มนี้ระมัดระวังตนเองในการมีพฤติกรรมเป็นแบบอย่าง

                  ให้รุ่นน้องโดยการรักษาชื่อเสียงที่ได้รับการยอมรับ โดยให้เหตุผลว่าการมีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนว่า

                  ตนเองต้องการประสบความส�าเร็จในชีวิตในด้านการศึกษาให้สูงสุด เป็นจุดส�าคัญในการใช้เวลา

                  ให้หมดไปกับการท�ากิจกรรมและเรียนหนังสือมากกว่าการเที่ยวเล่น คบหาชอบพอกับเยาวชนหญิง

                  แต่อย่างไรก็ตามเยาวชนกลุ่มนี้ปราศจากชุดประสบการณ์ชีวิตด้านอื่นๆ เข้าใจความหลากหลาย

                  ของชีวิต และดูเหมือนว่ามีความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์น้อยกว่าเยาวชนที่มี

                  ชุดประสบการณ์การตั้งครรภ์ ที่ต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่พัฒนาองค์กรเอกชน

                  โรงเรียนทางเลือกซึ่งมีความหลากหลายมากกว่า


                        นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเยาวชนชายที่เป็นนักกิจกรรมของโรงเรียนและเป็น

                  ผู้ช่วยครูในกิจกรรมมีการยอมรับเรื่องเพศสัมพันธ์ของเยาวชนน้อยกว่าเยาวชนกลุ่มอื่นๆ และยังคง

                  มีมายาคติเรื่องการรักนวลสงวนตัว การมีเพศสัมพันธ์ในสถาบันครอบครัวการแต่งงานเท่านั้น ซึ่งถือว่า

                  มายาคติดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งปัจจัยส�าคัญในโครงสร้างสังคมที่ละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์



                        l   ทัศนคติของเย�วชนหญิง



                        จากการสัมภาษณ์เยาวชนหญิง สะท้อนให้เห็นถึงการสื่อสารและการเลี้ยงดูในครอบครัวที่

                  หากผู้ปกครองเลี้ยงดูเยาวชนโดยวางสถานะเสมือนเพื่อน พูดคุยรับฟังเหตุผล ไม่ชี้น�าหรือใช้อ�านาจ

                  เยาวชนก็จะสามารถที่จะบอกเล่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นให้กับผู้ปกครองได้ด้วยความรู้สึกปลอดภัย

                  เพราะเชื่อมั่นว่าจะเข้าใจ แต่ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ปกครองยังขาดการรับรู้สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ดังนั้น

                  เมื่อเยาวชนหญิงเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมจึงรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จะบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้

                  แม้ว่าจะเป็นคนส�าคัญที่ใกล้ชิดมากที่สุด แต่การมีเพศสัมพันธ์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งครรภ์

                  เป็นสิ่งที่เยาวชนเลือกที่จะบอกหรือปรึกษาเป็นกลุ่มบุคคลสุดท้าย














                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  141
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147