Page 132 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 132
• จากการวิจัยภาคสนามพบว่า ผู้บริหารและอาจารย์ในโรงเรียนขาดความรู้ในประเด็น
สิทธิมนุษยชนและพระราชบัญญัติการศึกษา ซึ่งขณะที่พระราชบัญญัติการศึกษา ปี ๒๕๔๒
สอดคล้องกับการท�างานบนฐานคิดของมิติสิทธิมนุษยชน ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้าถึง
สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to Information and Education)
แต่กลับเป็นโรงเรียนส่วนน้อยที่จัดการศึกษาแบบนอกกรอบที่เปิดโอกาสให้เยาวชนหญิง
ตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้มีโอกาสทางการศึกษา แตกต่างจากการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ทั่วไปที่ยังไม่มีแนวทางในการจัดการเรื่องนี้อย่างชัดเจน จากการวิจัยภาคสนามพบว่า
สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการละเมิดพระราชบัญญัติและสิทธิมนุษยชนคือ ทัศนคติต่อปรากฏการณ์
การตั้งครรภ์ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของวัยเจริญพันธุ์ในเชิงลบ น�าไปสู่
การละเมิดสิทธิมนุษยชนและพระราชบัญญัติโดยครูอาจารย์และผู้บริหารด้วยการจ�าหน่าย
นักเรียนออกจากโรงเรียน โดยเหตุผลเพื่อรักษาชื่อเสียงของโรงเรียน
๓.๕ ทัศนคติต่อประเด็นการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิง
โดยไม่พร้อม
จากการศึกษาพบว่า สาเหตุ/เงื่อนไข/ปัจจัยส�าคัญที่ท�าให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ต่อเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในด้านข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to Information and
Education) มาจากทัศนคติของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์ในระดับปัจเจก มีความ
ส�าคัญอย่างมากในฐานะสิ่งแวดล้อมและบริบทสังคมที่มีผลต่อประเด็นการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิง
เช่น ทัศนคติของผู้บริหารย่อมมีผลต่อมาตรการของโรงเรียน ทัศนคติของเจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนา
เอกชนย่อมมีผลต่อหน่วยงานในประเด็นดังกล่าว ทัศนคติของผู้ปกครองและเยาวชนเองย่อมมีผล
ต่อการจัดการครรภ์ของเยาวชน
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 131