Page 130 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 130
๓.๔ สาเหตุ/เงื่อนไข/ปัจจัยที่ทำาให้เกิดปัญหาการตั้งครรภ์
ไม่พร้อมของเยาวชน
จากการสัมภาษณ์ระดับลึกและการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างพบว่า สาเหตุ/เงื่อนไข/ปัจจัย
ที่ส�าคัญอย่างมากต่อการท�าให้เกิดปัญหาเยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ส่วนใหญ่เกิดจากการ
เข้าไม่ถึงสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to Information and Education)
ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
• ผู้ปกครอง ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักเรียน และวัยรุ่นทั่วไป ยอมรับว่าปรากฏการณ์
การตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิงมีอยู่ทั่วไปในกลุ่มวัยรุ่นทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน และ
เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นกับเพื่อนในห้องเรียน คนข้างบ้าน และคนในชุมชน เมื่อเกิดปัญหา
ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมขึ้นมายังไม่มีข้อมูลที่รอบด้านในการดูแลปัญหานี้อย่างเป็นรูปธรรม
และยังไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้ข้อมูลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง เป็นที่รับรู้ได้ใน
วงกว้าง และเป็นระบบในการเข้าถึงข้อมูลที่รอบด้านด้วยการท�างานเชิงระบบแบบบูรณาการ
• บรรยากาศในครอบครัว ในโรงเรียนและในชุมชนยังต้องการทักษะในการสื่อสาร
เชิงบวก เกี่ยวกับการตอบสนองความรู้เรื่องเพศของเยาวชน พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ยังคง
มีบรรยากาศของความหวาดกลัวเรื่องเพศสัมพันธ์ของเยาวชนมากกว่าเพศสัมพันธ์ที่ไม่
ป้องกัน เนื่องจากยังคงมีมายาคติว่าเพศสัมพันธ์เป็นสิ่งต้องห้ามส�าหรับเยาวชน และยัง
ไม่มีวิธีบอกเล่าเพื่อฝึกกระบวนการคิด หรือชวนสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
อย่างเข้าใจและสุนทรียะสนทนา เกี่ยวกับการรับผิดชอบชีวิตและอนาคตของตนเอง
และคู่รัก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ
• การสอนเพศศึกษาในโรงเรียนโดยอาจารย์ และกิจกรรมต่างๆ โดยเจ้าหน้าที่จากกระทรวง
สาธารณสุขหรือกระทรวงศึกษาธิการตามโครงการเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
ของเยาวชน ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าส่วนใหญ่มักจัดกิจกรรมในห้องประชุมขนาดใหญ่ที่มี
นักเรียนจ�านวนมาก ซึ่งท�าให้วิทยากรหรืออาจารย์ให้ความรู้ได้ไม่ทั่วถึง และมีกลุ่มนักเรียน
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 129