Page 131 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 131

ที่สนใจจ�านวนน้อยอยู่แถวหน้าเท่านั้น ขณะที่แถวหลังไม่ได้ให้ความสนใจ และจากโครงการ

                           ต่างๆ มักเป็นการฉายวีดิทัศน์เรื่องเกี่ยวกับการท�าแท้งที่น่ากลัวเพื่อให้เยาวชนหญิง

                           หวาดกลัวการท�าแท้งไปจนถึงการมีเพศสัมพันธ์ และการรักนวลสงวนตัว เป็นการให้ความรู้ยัง

                           คงเป็นเรื่องการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย แม้จะมีการ

                           ให้ข้อมูลการใช้ถุงยางอนามัยก็ตาม มากไปกว่านั้น เนื่องจากเป็นการจัดกิจกรรมที่อาศัย

                           พื้นที่สาธารณะ มีผู้ร่วมกิจกรรมเป็นจ�านวนมาก ท�าให้เยาวชนรู้สึกไม่ปลอดภัยและเป็น

                           ส่วนตัวที่จะตั้งค�าถาม ทั้งเรื่องการตั้งครรภ์และการมีเพศสัมพันธ์ ท�าให้ไม่สามารถบรรลุ

                           สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ได้ ขณะเดียวกันกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ

                           สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ กิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นจึงขาดการสื่อสารแบบสองทาง


                       •  เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ไม่พร้อมขึ้น สิ่งแรกที่เยาวชนหญิงในวัยเรียนค�านึงถึงคือ “การหมด

                           อนาคต” เพราะรู้มาว่าการท้องนั้นผิดกฎของโรงเรียน ต้องถูกจ�าหน่ายออก ท�าให้นักเรียน

                           ชายต้องปิดเป็นความลับ แม้ว่าจะทราบจากสื่อต่างๆ ว่า โรงเรียนไม่สามารถจ�าหน่าย

                           นักเรียนตั้งครรภ์ออกจากโรงเรียนได้ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในด้านการศึกษา

                           และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แต่ทัศนคติของเยาวชนทั้งหญิงและชายที่มีต่อ

                           เรื่องนี้ทุกคนเห็นพ้องกันว่า สภาพแวดล้อมและบริบทสังคมยังไม่เปิดกว้างและเข้าใจในประเด็น

                           สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และยอมรับการตั้งครรภ์ของเยาวชน ท�าให้เยาวชนตั้งครรภ์รู้สึก

                           อับอายและทนไม่ได้กับสายตาคนมองอย่างดูหมิ่นภายในสถานศึกษา ซึ่งจากการวิจัย

                           พบว่า เยาวชนหลายคนเลือกที่ท�าแท้งไม่ปลอดภัยเพื่อจะได้เรียนหนังสือต่อ หรือหลายคน

                           ที่ตั้งครรภ์ต่อเลือกที่จะไม่ไปโรงเรียนหรือออกจากโรงเรียนก่อนถูกจ�าหน่ายออก น�าไปสู่

                           การขาดการศึกษา โดยไม่ทราบว่ายังมีโรงเรียนบางโรงเรียน เช่น โรงเรียนหนองชุมแสงวิทยา

                           จังหวัดเพชรบุรี ที่เข้าใจปัญหาการท้องในวัยรุ่นและได้จัดบริการการศึกษาตาม

                           พระราชบัญญัติการศึกษาให้กับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมและเยาวชนที่ประสบ

                           ปัญหาในด้านอื่นๆ จนต้องย้ายหรือถูกจ�าหน่ายออกจากโรงเรียน ในรูปแบบการจัดการศึกษา

                           นอกเวลาปกติ ซึ่งจากการวิจัยพบว่า เยาวชนชายหญิงที่ไปสัมภาษณ์ไม่เคยทราบเรื่องราว

                           เหล่านี้มาก่อน สะท้อนให้เห็นว่า โรงเรียนที่บริการการศึกษาส�าหรับเยาวชนหญิงตั้งครรภ์

                           ไม่เพียงยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่โรงเรียนในลักษณะเช่นนี้มีจ�านวนไม่เพียงพอต่อปริมาณเยาวชน

                           หญิงตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และต้องออกจากโรงเรียน







                            130    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136