Page 129 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 129
๓.๓ กระบวนการการตัดสินใจที่จะดำารงครรภ์หรือ
ยุติการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิงกับความเพียงพอ
ของข้อมูล
จากการสัมภาษณ์ผู้ผ่านประสบการณ์ตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบว่า สิ่งส�าคัญที่สุดที่เยาวชนต้องการ
ในขณะที่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์คือ ค�าปรึกษา ก�าลังใจ ที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ที่สามารถพูดคุย
เปิดเผยความรู้สึกกลัว กังวล ไม่แน่ใจต่อสิ่งที่ก�าลังจะเกิดขึ้นตามมาในชีวิตได้อย่างปลอดภัยและช่วยกัน
คิดหาทางออกไปด้วยกัน และไม่ผลักดันให้ต้องรีบตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะที่ยังสับสน
และยังไม่พร้อมจะเลือก แต่จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า เดิมเยาวชนไม่ได้บรรลุถึงสิทธิในการได้รับ
ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา (Rights to Information and Education) อยู่ก่อนแล้ว จนน�าไปสู่
การตั้งครรภ์ และเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ จากการสัมภาษณ์พบว่า กระบวนการในการตัดสินใจ ไม่ได้อยู่
บนการรับข้อมูลที่เพียงพอ เนื่องจากเยาวชนเลือกที่จะปรึกษาเพื่อนและรุ่นพี่ที่เคยมีชุดประสบการณ์
การตั้งครรภ์มาก่อน แทนการปรึกษากับเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคสังคมก่อน ด้วยความ
รู้สึกปลอดภัย เป็นความลับ และเข้าถึงได้ง่ายกว่า ซึ่งแต่ละบุคคลต่างมีชุดประสบการณ์ที่แตกต่าง
กัน และส่วนใหญ่มีประสบการณ์เเละความรู้ที่ไม่รอบด้าน และน�าไปสู่ความอันตรายต่อสุขภาพ
เช่น การเลือกซื้อยาเพื่อท�าให้แท้งเอง การทุบหรือกระแทกท้องอย่างรุนแรงเพื่อให้แท้ง ซึ่งส่วนใหญ่
ของกลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ยังเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว ท�าให้ข้อมูลส�าหรับการตัดสินใจที่จะด�ารงครรภ์
ต่อ หรือยุติการตั้งครรภ์ยังไม่เพียงพอและไม่รอบด้าน
ขณะเดียวกันในกลุ่มเยาวชนที่ด�ารงครรภ์ต่อพบว่า กระบวนการในการตัดสินใจไม่ได้เป็นสิทธิ
หรืออ�านาจของเยาวชนเอง แต่เป็นของผู้ปกครองของเยาวชน ข้อมูลในการตัดสินใจจึงเป็นของ
ผู้ปกครอง ซึ่งจากการสัมภาษณ์พบว่า ปัจจัยในการตัดสินใจไม่ใช่ความรู้เรื่องสุขภาวะและสิทธิ
อนามัยเจริญพันธุ์ แต่เป็นความเชื่อมายาคติ เรื่องวิญญาณจากการท�าแท้ง ที่ท�าให้ตัดสินใจแทน
เยาวชนหญิงให้ด�ารงครรภ์ต่อ
128 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน