Page 136 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 136

เห็นได้ชัดว่า แม้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๑ - ๓๐๕ และข้อบังคับแพทยสภา

                  อนุญาตให้แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายท�าแท้งได้ในสถานพยาบาล แต่ไม่ได้มี

                  บทข้อห้ามถึงการปฏิเสธการยุติการตั้งครรภ์ แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงเลือกที่จะ

                  ปฏิเสธยุติการตั้งครรภ์ให้กับผู้หญิงที่ขอบริการ ซึ่งถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

                  อย่างหนึ่ง โดยอาศัยความคิดความเชื่อของคนในชุมชนในพื้นที่แวดล้อมสถานพยาบาล สะท้อนให้เห็นว่า

                  เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ แต่ให้ความส�าคัญกับ

                  บรรทัดฐานทางสังคมในชุมชนที่ยังเต็มไปด้วยมายาคติมากกว่า เพราะสังคมไทยยังคงอ่อนไหวกับ

                  ประเด็นการท�าแท้ง มายาคติเกี่ยวกับการรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงและการมีเพศสัมพันธ์เป็น

                  เรื่องต้องห้ามส�าหรับเยาวชน ซึ่งท�าให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถบรรลุประเด็นสิทธิอนามัย

                  เจริญพันธุ์ได้ และน�าไปสู่การเข้าไม่ถึงบริการเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ของเยาวชนได้ โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่งเยาวชนหญิงในชุมชนนอกเมือง เพราะสถานที่ยุติการตั้งครรภ์ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแนะน�า

                  อยู่ในตัวเมือง ในกรุงเทพฯ  ซึ่งฐานะทางเศรษฐกิจและการเดินทางเป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการเข้าถึง

                  สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ดังกล่าว ซึ่งอาจน�าไปสู่การยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย


                        มากไปกว่านั้น จากการสัมภาษณ์เชิงลึก ในส่วนของเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมสนับสนุนของ

                  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�าบลแห่งหนึ่ง ก็สะท้อนให้เห็นถึงระบบโครงสร้างระบบราชการที่ไม่เอื้อต่อ

                  การท�างานส่งเสริมเพื่อให้ข้อมูลในเชิงรุกแก่ชุมชน เนื่องจากการปรับโครงสร้างใหม่ของโรงพยาบาล

                  ส่งเสริมสุขภาพต�าบล ที่ดึงเอาเวลางานให้บริการประชาชนส่วนหนึ่งมามุ่งเน้นในการจัดท�าเอกสาร

                  เพื่อรายงานแก่หน่วยเหนือซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มุ่งเน้นการตรวจประเมินเอกสารเป็นหลัก ท�าให้

                  การจัดบริการที่เป็นมิตรค่อนข้างท�าได้ยาก แม้ว่าจะมีเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์มารับบริการจ�านวนมาก

                  ก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถให้บริการเป็นการเฉพาะแยกจากกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปได้เนื่องจาก

                  ภาระงานดังกล่าวและจ�านวนบุคลากรที่มีไม่เพียงพอ น�าไปสู่การไม่บรรลุสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

                  ในการเข้าถึงความรู้ที่ถูกต้อง รอบด้าน และปลอดภัย



                                “เวลาที่น้องๆ เยาวชนท้องเข้ามารับบริการ เราไม่เคยปฏิเสธการให้บริการนะคะพี่

                            แต่เรายังไม่มีเวลาให้ข้อมูลเขาได้มากนัก บางทีหนูเข้าไปเยี่ยมบ้านคนไข้รายอื่นในชุมชน

                            ก็มักจะสอบถามว่ามีใครท้องบ้าง อย่าลืมแนะน�าให้เขามาฝากท้องที่โรงพยาบาลด้วยนะ

                            แต่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ลงเยี่ยมเลยเพราะก�าลังวุ่นเรื่องงานเอกสารที่เดี๋ยวหน่วยนั้นจะเอา







                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  135
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141