Page 127 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 127
“เค้าก็บอกว่าเอาอย่างนี้แล้วกัน ถ้าท้องอะหนูต้องใช้สิทธิ์ฝากท้องโดยการเสียเงิน
หนูคิดว่าค่าฝากท้องมันแพงนะ เดือนละพันกว่าบาท หนูก็เลยบอกตามความจริง แฟน
หนูเป็นอย่างนี้ หนูก็เล่าให้เค้าฟังเหมือนที่หนูเล่าให้พี่ฟังอย่างนี้ เค้าบอกว่าแต่ว่าหนูต้องมี
ค่าใช้จ่ายแน่นอนในการฝากท้อง เงินหนูตอนนั้นเสียไปเดือนละ ๑,๐๐๐ กว่าบาทแน่นอนถ้า
ฝากท้องไป คงไม่พอหรอกอะไรอย่างนี้ เค้าก็เลยบอกว่าเอาอย่างนี้แล้วกัน พยายามหน่อย
ถ้าคลอดออกมาแล้วที่สมาคมจะช่วยเลี้ยงดูเรื่องของค่าเลี้ยงค่าใช้จ่าย หนูก็บอกว่าถ้าหนู
ออกมาขนาดนั้นแล้วคงไม่ให้พี่เลี้ยงหรอก หนูก็คงเลี้ยงเอง พูดไปพูดมาหนูก็บอกเค้าว่า
หนูตั้งใจแล้วพี่ คือหนูไม่พร้อมอย่างแรงกับลูกคนนี้ คือคิดยังไงก็ไม่พร้อม เราก็รักเค้า
แต่ออกมาก็เลี้ยงดูเค้าไม่ได้ แค่ ๒ คนนี้ก็ลุ่มๆดอนๆ เค้าก็เลยแนะน�าให้ เค้าก็ให้ใบกับ
เบอร์โทร สมาคมชุมชนอะไรสักอย่าง สุขุมวิท ซอย ๑๒ หนูโทรไปถามเค้าว่าถ้าหนูจะเอาออก
ที่นั่นเค้าก็พูดแบบ ก็รับสายเค้าก็พูดประมาณว่าแล้วคุณจะคิดมากอะไร ถ้าหนูจะถามว่า
มันเป็นยังไง เค้าก็บอกว่าในเมื่อคุณตัดสินใจแล้วคุณก็ไม่ต้องคิด คุณคิดแค่เดินเข้ามา
พร้อมบัตรประชาชนใบนึง หนูก็เลยบอกว่า เหรอคะ หนูก็ตื่นเต้นนะ โทรไปก็ตื่นเต้น เค้าก็บอก
ว่าคุณเตรียมเงินมา ๒,๐๐๐ ห้ามมากกว่า ๓ เดือน ถ้ามากกว่า ๓ เดือนเราไม่ท�าให้นะคะ
ก็พูดมาประมาณว่าที่นี่แหละคลินิกท�าแท้ง เค้าก็บอกว่าคุณเตรียมเงินมา น�าบัตรประชาชน
มา คือหนูอยากจะปรึกษาก่อนคือแบบอะไรอย่างนี้ เค้าก็บอกว่า ไม่มีให้ค�าปรึกษาอะค่ะ
ที่นี่ หนูก็คิด กูไม่ปรึกษาก็ได้วะ ขอบคุณค่ะ แล้วหนูก็วางสายไป”
๓.๒ ปัจจัยผลักดันให้เยาวชนหญิงเข้าสู่ภาวะ
การตั้งครรภ์ไม่พร้อม
จากการสัมภาษณ์ ลงพื้นที่วิจัยภาคสนามพบว่า การท�าให้เยาวชนหญิงสู่ภาวะตั้งครรภ์
ไม่พร้อมมีสาเหตุจากการไม่ได้รับข้อมูลข่าวสาร เข้าไม่ถึงการให้บริการให้ค�าปรึกษารอบด้าน ข้อมูล
จากการสนทนากลุ่มเยาวชนชายและสัมภาษณ์เชิงลึก เยาวชนหญิงที่มีประสบการณ์เรื่องการตั้งครรภ์
ของเยาวชน พบว่า การเลี้ยงดูที่เข้มงวด และความคาดหวังสูงของพ่อแม่ที่มีต่อเด็กเรียน ที่มุ่งเน้น
126 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน