Page 54 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 54
๓. เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้มาซึ่งสัญชาติ
ข้อ ๒๕
พลเมืองทุกคนย่อมมีสิทธิและโอกาส โดยปราศจากความแตกต่างดังกล่าวไว้ในข้อ ๒ และโดยปราศจากข้อจ ากัด
อันไม่สมควร
(ก) ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจโดยตรง หรือผ่านทางผู้แทนซึ่งได้รับเลือกมาอย่างเสรี
(ข) ในการที่จะออกเสียงหรือได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งอันแท้จริงตามวาระซึ่งมีการออกเสียงโดยทั่วไปและ
เสมอภาค และโดยการลงคะแนนลับเพื่อประกันการแสดงเจตนาโดยเสรีของผู้เลือก
(ค) ในการที่จะเข้าถึงการบริการสาธารณะในประเทศของตน ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปแห่งความเสมอภาค
ข้อ ๒๖
บุคคลทั้งปวงย่อมเสมอกันตามกฎหมาย และมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย โดย
ปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ในกรณีนี้ กฎหมายจะต้องห้ามการเลือกปฏิบัติใด ๆ และต้องประกันการคุ้มครองบุคคลทุก
คนอย่างเสมอภาคและเป็นผลจริงจังจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลใด เช่น เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็น
ทางการเมืองหรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน ก าเนิด หรือสถานะอื่น ๆ
ข้อ ๒๗
ในรัฐทั้งหลายซึ่งมีชนกลุ่มน้อยทางเผ่าพันธุ์ ศาสนา หรือภาษาอยู่ บุคคลผู้เป็นชนกลุ่มน้อยดังกล่าวจะไม่ถูก
ปฏิเสธสิทธิในอันที่จะมีวัฒนธรรมของตนเอง หรือนับถือและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตนเอง หรือใช้ภาษาของ
ตนเอง ภายในชุมชนร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ของชนกลุ่มน้อยด้วยกัน
ภาค ๔
ข้อ ๒๘
๑. ให้จัดตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนขึ้นคณะหนึ่ง (ซึ่งต่อไปในกติกานี้เรียกว่าคณะกรรมการ) คณะกรรมการ
นี้ประกอบด้วยกรรมการสิบแปดคน และปฏิบัติหน้าที่ตามที่ก าหนดไว้ต่อไปนี้
๒. คณะกรรมการจะประกอบด้วยคนชาติของรัฐภาคีแห่งกติกานี้ซึ่งเป็นผู้มีศีลธรรมสูง และมีความสามารถเป็นที่
ยอมรับในด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ให้ค านึงถึงประโยชน์ของการมีกรรมการบางคนผู้มีประสบการณ์ทางกฎหมายร่วมอยู่
ด้วย
๓. กรรมการของคณะกรรมการนี้จะได้รับเลือกตั้ง และปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเฉพาะตัว
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐ ๑๐