Page 59 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 59

(๒) ถ้าไม่มีการบรรลุข้อยุติตามที่ระบุไว้ในอนุวรรค (จ)  คณะกรรมการจะจ ากัดขอบเขตของ
                              รายงานของตนให้เป็นเพียงค าแถลงโดยย่อในข้อเท็จจริง ทั้งนี้ให้แนบค าแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรและ

                              บันทึกค าแถลงด้วยวาจาซึ่งกระท าโดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องไปกับรายงานนั้นด้วย


                       ในทุกกรณี ให้ส่งรายงานดังกล่าวไปยังรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง


                       ๒. บทบัญญัติของข้อนี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อรัฐภาคีแห่งกติกานี้สิบรัฐได้ท าค าประกาศตามวรรค  ๑ ของข้อนี้ รัฐ
               ภาคีจะมอบค าประกาศไว้กับเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งจะส่งส าเนาค าประกาศนั้น ๆ ไปยังรัฐภาคีอื่น ๆ ค าประกาศอาจถูก
               ถอนเมื่อใดก็ได้ โดยการแจ้งไปยังเลขาธิการฯ  การถอนค าประกาศย่อมไม่กระทบกระเทือนการพิจารณากรณีใด ๆ  ซึ่งเป็น

               เรื่องที่ได้รับการแจ้งซึ่งได้จัดส่งไว้แล้วตามข้อนี้ คณะกรรมการจะไม่รับค าแจ้งจากรัฐภาคีอีกต่อไปหลังจากที่มีการแจ้งการ
               ถอนค าประกาศซึ่งรับไว้โดยเลขาธิการฯ เว้นแต่รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องได้ท าค าประกาศใหม่แล้ว


                                                          ข้อ ๔๒


                       ๑. (ก) ถ้ากรณีที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการตามข้อ ๔๑   ไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นที่พอใจแก่รัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง
               คณะกรรมการโดยความยินยอมจากรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องอาจแต่งตั้งคณะกรรมาธิการประนีประนอมเฉพาะกิจขึ้น ( ซึ่งต่อไปนี้

               จะเรียกว่า คณะกรรมาธิการ )   คณะกรรมาธิการจะช่วยเป็นสื่อกลางแก่รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อยุติฉันมิตรบนพื้นฐาน
               แห่งความเคารพต่อกติกานี้


                          (ข) คณะกรรมาธิการจะประกอบด้วยบุคคลห้าคนซึ่งเป็นที่ยอมรับของรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง ถ้ารัฐภาคีที่เกี่ยวข้องไม่
               สามารถตกลงกันในเรื่ององค์ประกอบทั้งหมดหรือบางส่วนของคณะกรรมาธิการภายในสามเดือน ให้เลือกตั้งกรรมาธิการที่
               ไม่สามารถตกลงกันได้นั้นโดยการลงคะแนนลับ โดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากสองในสามของคณะกรรมการ


                       ๒. กรรมาธิการของคณะกรรมาธิการด ารงต าแหน่งในฐานะเฉพาะตัว กรรมาธิการต้องไม่เป็นคนชาติของรัฐภาคีที่

               เกี่ยวข้อง หรือของรัฐที่มิได้เป็นภาคีแห่งกติกานี้ หรือของรัฐภาคีที่มิได้ท าค าประกาศตามข้อ ๔๑

                       ๓. คณะกรรมาธิการจะเลือกประธาน และก าหนดระเบียบข้อบังคับการประชุมของตนเอง


                       ๔. การประชุมของคณะกรรมาธิการ   ตามปกติจะกระท าที่ส านักงานใหญ่สหประชาชาติ หรือส านักงาน

               สหประชาชาติ ณ นครเจนีวา อย่างไรก็ตามอาจจัดประชุมขึ้น ณ สถานที่อื่นที่เหมาะสมตามที่คณะกรรมาธิการอาจก าหนด
               โดยการปรึกษากับเลขาธิการสหประชาชาติและรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง


                       ๕. ฝ่ายเลขานุการตามข้อ ๓๖ จะปฏิบัติงานให้คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นตามข้อนี้ด้วย


                       ๖. ข้อมูลที่คณะกรรมการได้รับและรวบรวมไว้จะต้องให้แก่คณะกรรมาธิการด้วย และคณะกรรมาธิการอาจขอให้
               รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องได้


                       ๗.  เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณากรณีนั้นอย่างเต็มที่แล้ว   ให้เสนอรายงานต่อประธานคณะกรรมการเพื่อส่ง
               ต่อไปยังรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ต้องไม่ช้ากว่าสิบสองเดือนนับแต่วันที่ได้รับเรื่องไว้








               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐  ๑๕
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64