Page 57 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 57
๒. ภายหลังการประชุมครั้งแรก คณะกรรมการต้องประชุมตามเวลาที่ก าหนดในระเบียบข้อบังคับการประชุม
๓. โดยปกติคณะกรรมการจะประชุมกัน ณ ส านักงานใหญ่สหประชาชาติ หรือ ส านักงานสหประชาชาติ ณ นคร
เจนีวา
ข้อ ๓๘
ก่อนเริ่มการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการทุกคนของคณะกรรมการนี้จะต้องปฏิญาณตนต่อที่ประชุมอันเปิดเผยของ
คณะกรรมการว่า ตนจะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ล าเอียงและโดยมีมโนธรรม
ข้อ ๓๙
๑. คณะกรรมการจะเลือกตั้งเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะกรรมการ โดยมีวาระคราวละสองปี เจ้าหน้าที่ดังกล่าวอาจ
ได้รับเลือกตั้งซ ้าได้
๒. คณะกรรมการจะก าหนดระเบียบข้อบังคับการประชุมของตน แต่ระเบียบข้อบังคับการประชุมเหล่านี้
นอกเหนือจากประการอื่นแล้ว จะต้องก าหนดว่า
(ก) กรรมการสิบสองคนจะประกอบเป็นองค์ประชุม
(ข) การตัดสินใจต่าง ๆ ของคณะกรรมการให้กระท าโดยเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าประชุม
ข้อ ๔๐
๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะเสนอรายงานว่าด้วยมาตรการต่าง ๆ ซึ่งรัฐนั้น ๆ ได้รับไว้ในอันที่จะท าให้สิทธิที่
ได้รับรองไว้ในกติกานี้เป็นผลจริง และว่าด้วยความก้าวหน้าในการอุปโภคสิทธิเหล่านั้น
(ก) ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กติกานี้มีผลใช้บังคับส าหรับรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องนั้น ๆ
(ข) ภายหลังจากนั้น เมื่อใดก็ตามที่คณะกรรมการร้องขอ
๒. ให้ส่งรายงานทั้งปวงต่อเลขาการสหประชาชาติผู้ซึ่งจะน าส่งต่อไปให้คณะกรรมการพิจารณา รายงานนั้นให้
ระบุปัจจัยปละอุปสรรคต่าง ๆ ซึ่งกระทบต่อการปฏิบัติตามกติกานี้ หากมี
๓. ภายหลังจากที่ได้หารือกับคณะกรรมการแล้ว เลขาธิการสหประชาชาติอาจน าส่งส าเนารายงานบางส่วนเท่าที่
อยู่ในขอบเขตอ านาจหน้าที่ของทบวงการช านัญพิเศษใดไปยังทบวงการช านัญพิเศษที่เกี่ยวข้องนั้น
๔. ให้คณะกรรมการศึกษารายงานที่รัฐภาคีแห่งกติกานี้ได้เสนอ คณะกรรมการจะจัดส่งรายงานของตนและ
ความเห็นทั่วไปตามที่เห็นสมควรไปยังรัฐภาคีนั้น ๆ คณะกรรมการอาจส่งความเห็นดังกล่าวพร้อมด้วยส าเนารายงานที่
ได้รับจากรัฐภาคีแห่งกติกานี้ไปยังคณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคมด้วย
๕. รัฐภาคีแห่งกติกานี้อาจเสนอข้อสังเกตต่อความเห็นที่ได้ให้ไว้ตามวรรค ๔ ของข้อนี้ต่อคณะกรรมการ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐ ๑๓