Page 52 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 52
ข้อ ๑๘
๑. บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในเสรีภาพทางความคิด มโนธรรมและศาสนา สิทธินี้ย่อมรวมถึงเสรีภาพในการมีหรือ
นับถือศาสนา หรือมีความเชื่อตามคตินิยมของตน และเสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา หรือความเชื่อของตนโดยการ
สักการบูชา การปฏิบัติ การประกอบพิธีกรรม และการสอน ไม่ว่าจะโดยล าพังตัวเอง หรือในชุมชนร่วมกับผู้อื่น และไม่ว่า
ต่อสาธารณชน หรือเป็นการส่วนตัว
๒. บุคคลจะถูกบีบบังคับให้เสื่อมเสียเสรีภาพในการมีปรือนับถือศาสนาหรือความเชื่อตามคตินิยมของตนมิได้
๓. เสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา หรือความเชื่อของบุคคลอาจอยู่ภายใต้บังคับแห่งข้อจ ากัดเฉพาะที่บัญญัติ
โดยกฎหมาย และตามความจ าเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย สุขอนามัย หรือศีลธรรมของประชาชน
หรือเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นมูลฐานของบุคคลอื่นเท่านั้น
๔. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพเสรีภาพของบิดามารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายในการให้การศึกษาทาง
ศาสนาและศีลธรรมแก่เด็กตามความเชื่อของตน
ข้อ ๑๙
๑. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
๒. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่ค านึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ ในรูป
ของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก
๓. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค ๒ ของข้อนี้ ต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิ
ดังกล่าวอาจมีข้อจ ากัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อจ ากัดนั้นต้องบัญญัติไว้ในกฎหมายและจ าเป็นต่อ
(ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
(ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรมของ
ประชาชน
ข้อ ๒๐
๑. การโฆษณาชวนเชื่อใด ๆ เพื่อการสงคราม เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
๒. การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังในชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็น
ปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐ ๘