Page 58 - ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี : จากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศ
P. 58

ข้อ ๔๑


                       ๑. รัฐภาคีแห่งกติกานี้อาจประกาศตามบทบัญญัติในข้อนี้ ในเวลาใด ๆ ว่าตนยอมรับอ านาจของคณะกรรมการใน
               อันที่จะรับและพิจารณาค าแจ้งที่มีผลว่ารัฐภาคีหนึ่งกล่าวอ้างว่ารัฐภาคีอีกรัฐหนึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามพันธกรณีของตนตาม

               กติกานี้  การรับและพิจารณาค าแจ้งตามข้อนี้จะกระท าได้ต่อเมื่อเป็นค าแจ้งซึ่งได้เสนอโดยรัฐภาคีซึ่งได้ประกาศยอมรับ
               อ านาจของคณะกรรมการแล้ว คณะกรรมการจะไม่รับค าแจ้งใด ๆ  หากค าแจ้งนั้นเกี่ยวข้องกับรัฐภาคีซึ่งมิได้ท าค าประกาศ
               เช่นว่านั้น การพิจารณาค าแจ้งที่ได้รับตามข้อนี้ให้เป็นไปตามวิธีพิจารณาต่อไปนี้


                              (ก)  ถ้ารัฐภาคีหนึ่งแห่งกติกานี้พิจารณาเห็นว่ารัฐภาคีอีกรัฐหนึ่งมิได้ท าให้บทบัญญัติแห่งกติกานี้มีผล

                       จริง รัฐนั้นอาจท าค าแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังรัฐภาคีอีกรัฐหนึ่งนั้น ภายในเวลาสามเดือนนับแต่วันที่ได้รับค า
                       แจ้ง  ให้รัฐที่ได้รับแจ้งตอบรัฐที่ส่งค าแจ้งโดยท าเป็นค าอธิบายหรือค าแถลงอื่นเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจง
                       รายละเอียดของเรื่องซึ่งควรรวมถึงการอ้างอิงกระบวนการภายในของรัฐนั้นและการเยียวยาที่ได้ด าเนินการไป

                       หรือที่อยู่ระหว่างด าเนินการ หรือที่มีอยู่ ทั้งนี้เท่าที่เกี่ยวข้องและเป็นไปได้


                              (ข)  ถ้ากรณีที่เกิดขึ้นยังไม่ได้รับการปรับแก้ให้เป็นที่พอใจแก่รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่ายภายในหก
                       เดือนนับแต่วันที่รัฐผู้รับได้รับค าร้องเรียนครั้งแรก    รัฐใดรัฐหนึ่งย่อมมีสิทธิที่จะเสนอกรณีดังกล่าวต่อ
                       คณะกรรมการ โดยแจ้งให้คณะกรรมการและอีกรัฐหนึ่งทราบ


                              (ค) คณะกรรมการจะด าเนินการกับกรณีที่เสนอมาได้ก็ต่อเมื่อเป็นที่แน่ใจแก่คณะกรรมการแล้วว่า  การ
                       เยียวยาภายในประเทศได้น ามาใช้โดยถึงที่สุดแล้วโดยสอดคล้องกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่

                       ยอมรับกันทั่วไป หลักเกณฑ์นี้ไม่ใช้บังคับ ในกรณีที่การเยียวยาจะเนิ่นนานออกไปอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร


                              (ง) ให้คณะกรรมการจัดประชุมลับ เมื่อมีการพิจารณาค าร้องเรียนตามข้อนี้


                              (จ)  ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติของอนุวรรค (ค)   คณะกรรมการจะช่วยเป็นสื่อกลางให้แก่รัฐภาคีที่
                              เกี่ยวข้อง  เพื่อการหาข้อยุติฉันเพื่อนบนพื้นฐานแห่งความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูล
                              ฐานที่ได้รับรองไว้ในกติกานี้


                              (ฉ)  คณะกรรมการอาจร้องขอให้รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตามที่อ้างถึงในอนุวรรค (ข)   จัดส่งข้อมูลใด ๆ ที่

                              เกี่ยวข้องกับกรณีที่เสนอมาสู่การพิจารณานั้น


                              (ช)  รัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตามที่อ้างถึงในอนุวรรค (ข)   ย่อมมีสิทธิที่จะมีผู้แทนเข้าชี้แจงในขณะที่เรื่องอยู่
                       ระหว่างการพิจารณาในคณะกรรมการ และมีสิทธิที่จะเสนอค าแถลงด้วยวาจาและ/หรือเป็นลายลักษณ์อักษร


                              (ซ) ภายในสิบสองเดือนนับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งตามอนุวรรค (ข) คณะกรรมการจะเสนอรายงาน


                                     (๑) ถ้ามีการบรรลุข้อยุติตามที่ระบุไว้ในอนุวรรค (จ)   คณะกรรมการจะจ ากัดขอบเขตของ
                              รายงานของตนให้เป็นเพียงค าแถลงโดยย่อในข้อเท็จจริงและข้อยุติที่บรรลุผล









               กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๓๙ มีผลใช้บังคับ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐  ๑๔
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63