Page 19 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 19

ในส่วนของการติดตามและประเมินผล ซึ่งกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษา
                 ขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๖ ระบุว่า “ให้สำานักงานจัดให้มีการวัดผลและประเมินผลการ

                 เรียนรู้ของผู้เรียนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง”  แต่เนื่องจากไม่มีการจัดสรรงบประมาณในการติดตามและ
                 ประเมินผล  เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้ดำาเนินการตามที่กฎกระทรวงกำาหนด โดยในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่จะ

                 ประเมินผล ๓ ปีต่อครั้ง และใช้วิธีการประเมินผลที่ใช้ในระบบโรงเรียน ซึ่งไม่สอดคล้องกับกระบวนการ
                 เรียนรู้ที่พัฒนาตามศักยภาพของเด็ก ทำาให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาของเด็ก  ซึ่งเดิม

                 ครอบครัวบ้านเรียนได้ตกลงกับสำานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ว่าจะใช้วิธี
                 การประเมินผลซึ่งต้องเป็นไปตามสภาพจริง  แต่สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ไม่ได้ปฏิบัติตามที่ตกลง

                 กันไว้แต่อย่างใด  ทำาให้ระบบการศึกษาแบบบ้านเรียนไม่ได้รับการพัฒนา  อีกทั้งปัญหาในการออกใบ
                 ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑ : ค) ล่าช้า ทำาให้เกิดผลกระทบต่อเด็กในการศึกษาต่อ

                           ในการประกันคุณภาพภายนอก  สำานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
                 (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ได้ประเมินผลและติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษากับ

                 เด็กบ้านเรียน ซึ่งผลการประเมินส่วนใหญ่ของเด็กบ้านเรียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยในการประกันคุณภาพ
                 ภายนอกรอบที่ ๓  สมศ. คำานึงถึงการศึกษาทางเลือกและการศึกษาสำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น

                 เนื่องจากวิธีการที่ สมศ. ใช้ดำาเนินการเป็นวิธีการเดิมที่ใช้กับระบบโรงเรียน  โดยใช้ตัวชี้วัดเดิมจึงทำาให้เกิด
                 การร้องเรียน ทำาให้มีการเสนอแนวทางใหม่และได้มีการจัดประชุมร่วมกับสถานศึกษาที่มีวัตถุประสงค์

                 พิเศษหรือการศึกษาทางเลือกหรือการศึกษาสำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อกำาหนดตัวชี้วัดใหม่
                 และการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ใช้กับเด็กที่มีความถนัดเป็นพิเศษ หรือเด็กที่

                 ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือเด็กในถิ่นทุรกันดารที่ต้องให้ความสนใจ
                 เป็นพิเศษ เป็นต้น  เนื่องจาก สพฐ. อยู่ระหว่างการพิจารณาหลักเกณฑ์การปรับใช้หลักสูตรแกนกลาง

                 การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ สำาหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ หรือการศึกษาทางเลือก
                           พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ วางหลักไว้ว่า การจัดการศึกษา

                 มีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาอาจ
                 จัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้  แต่ปัจจุบันไม่มีสถานศึกษาใดที่จัดการ

                 ศึกษาครบทั้ง ๓ รูปแบบ
                           ปัจจุบัน สพฐ. ได้มอบหมายให้สำานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นหน่วยงานหลัก

                 ในการประสานงานเรื่องการศึกษาโดยครอบครัว แต่สำานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาไม่มีอำานาจ
                 ในการสั่งการ ซึ่งกรณีการออกใบระเบียนแสดงผลการเรียน (ป.พ.)  สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็น

                 ผู้พิจารณา

                       ๓.๒ คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่

                 ไม่เป็นธรรม ได้มีหนังสือเชิญผู้แทนจากสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้แทน
                 กระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงด้วยวาจา  ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ

                 ครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๕  ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้สำานักงาน



            18

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24