Page 18 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
P. 18
ไม่ตรงกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยหลังจากที่กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ ใช้บังคับ สพฐ. ได้จัดทำาคู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว
เพื่อให้ปฏิบัติ จำานวน ๒ ฉบับ รวมทั้งได้มีการปรับปรุงแก้ไข จำานวน ๒ ครั้ง โดยคู่มือทั้ง ๒ ฉบับ
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำาขึ้นโดยอ้างอิงจากการศึกษาในระบบ ซึ่งการจัดการศึกษาแบบบ้านเรียน
มีโครงสร้างเวลาและกระบวนการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น โดยแตกต่างจากการศึกษาในระบบ ปัจจุบันการ
จัดทำาคู่มือฉบับที่ ๓ อยู่ระหว่างการดำาเนินการ ซึ่งครอบครัวบ้านเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วม แต่ปัญหา
ที่เกิดขึ้นเมื่อนำาคู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัวมาปฏิบัติ ทำาให้เกิดปัญหาในเรื่อง
การตีความที่ไม่ตรงกัน เช่น คุณภาพการศึกษา ตัวชี้วัดต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากส่วนราชการจะยึดถือ
แนวปฏิบัติตามที่กฎระเบียบกำาหนดไว้ แต่เนื่องจากกฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ ไม่มีการระบุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่มีการลงประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีแต่เพียงคู่มือการดำาเนินงานการจัดการศึกษาโดยครอบครัว และปัญหาอื่นๆ
อีก เช่น ในการยื่นขอจดทะเบียนการจัดการศึกษาโดยครอบครัว กฎกระทรวงว่าด้วยสิทธิในการจัดการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๓ ระบุว่า “ให้สำานักงานเสนอคำาขออนุญาตจัดการศึกษา
ให้คณะกรรมการพิจารณาโดยเร็วและแจ้งผลการพิจารณาคำาขออนุญาตจัดการศึกษาแก่ครอบครัว
ที่ยื่นคำาขออนุญาตจัดการศึกษา ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำาขออนุญาตจัดการศึกษาตามข้อ ๒”
ซึ่งวิธีการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่จะไม่รับเรื่องของครอบครัวบ้านเรียนเนื่องจากมีกำาหนดระยะเวลาที่ต้อง
ดำาเนินการภายใน ๓๐ วัน โดยเจ้าหน้าที่บางแห่งแจ้งว่าไม่มีแบบยื่นคำาขออนุญาตจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยครอบครัว เจ้าหน้าที่บางแห่งแนะนำาให้ครอบครัวบ้านเรียนส่งบุตรเข้าเรียนในโรงเรียน เป็นต้น
ปัจจุบันครอบครัวบ้านเรียนมีอยู่ประมาณ ๒๐๐–๓๐๐ ครอบครัว ซึ่งครอบครัวบ้านเรียน
ส่วนใหญ่ที่จัดทำาแผนการจัดศึกษาเอง โดยสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษายังไม่ได้ให้คำาแนะนำาและ
เข้ามาร่วมจัดทำาแผนการจัดการศึกษากับครอบครัวมากนัก ซึ่งบางครอบครัวอาจไม่มีความรู้ใน
การเขียนแผนการจัดการศึกษาและยังขาดประสบการณ์ จึงต้องการคำาแนะนำา โดยเฉพาะในส่วนที่
ยังไม่สอดคล้องหรือครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ ขณะเดียวกันบางครอบครัวต้องการให้การ
จัดทำาแผนการจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่น โดยสามารถนำาวิถีชีวิต หลักศาสนา หรือความ
ต้องการของครอบครัวมาเป็นกรอบในการจัดทำาแผนการจัดการศึกษาในลักษณะที่เป็นภาพรวม
ซึ่งสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษากำาหนดให้ต้องเป็นไปตาม ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย
ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สุขศึกษาและ
พลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้ ในการประเมินผล
การเรียนรู้แบบบูรณาการก็ได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งครอบครัวบ้านเรียนได้
ดำาเนินการให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ อย่างชัดเจน แต่สำานักงานเขต
พื้นที่การศึกษาต้องการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำาหนด และในการประเมินผลที่จำาแนกเป็น ๘ กลุ่ม
สาระการเรียนรู้
17
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีสิทธิทางการศึกษาตามหลักสูตรการจัดการศึกษาโดยครอบครัว