Page 57 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 57
ข้อ ๑๔
๒. บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำาผิดอาญา ต้องมีสิทธิได้รับการสันนิษฐานว่าเป็น
ผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ตามกฎหมายได้ว่ามีความผิด
๕. คว�มเห็นคณะอนุกรรมก�รสิทธิมนุษยชนด้�นกฎหม�ยและก�รปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
๕.๑ ความเห็นคณะอนุกรรมการฯ
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมได้พิจารณา
ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยตลอดแล้วเห็นว่า มีประเด็นปัญหาที่ต้องวินิจฉัย คือ
การที่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำารวจนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เป็นการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕
มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๑ และกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๔ หรือไม่ อย่างไร
จากการรับฟังข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยส่วนใหญ่แต่ละหน่วยงานจะมีข้อคิดเห็น
ที่ตรงกัน ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ ๑ การนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เนื่องจาก
ประเทศไทยใช้ระบบกล่าวหาจึงต้องมีพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำาเลย ซึ่งคดีอาญาบางคดี
มีประจักษ์พยานและพยานหลักฐานที่หาได้โดยง่าย แต่ในหลายๆ คดีที่ไม่มีประจักษ์พยาน และพยาน
หลักฐานหาได้โดยยาก จึงทำาให้ต้องหาพยานหรือเหตุแวดล้อมประกอบ รวมทั้งวัตถุพยานหลักฐาน
ต่างๆ เช่น อาวุธที่ใช้ในการกระทำาความผิด ซึ่งหากไม่นำาตัวผู้ต้องหาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ ก็จะทำาให้ไม่ได้
พยานหลักฐานประกอบการพิสูจน์ที่เกิดเหตุเพื่อให้พบพยานหลักฐานต่างๆ เช่น เส้นผม เสื้อผ้าของ
ผู้กระทำาผิด เป็นต้น โดยคดีที่ไม่มีพยานหลักฐานมีความจำาเป็นที่จะต้องนำาพยานหลักฐานมาประกอบ
โดยการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ ซึ่งต้องดำาเนินการโดย
ได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา โดยในการทำาแผนการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ พนักงาน
สอบสวนควรระบุไว้ด้วยว่าได้ดำาเนินการแจ้งสิทธิต่างๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๓๔/๔ วรรคท้าย โดยให้ผู้ต้องหาลงลายมือชื่อให้ความยินยอม และรับทราบว่าพนักงาน
สอบสวนได้ดำาเนินการตามที่กฎหมายบังคับไว้ โดยจัดทำาเป็นเอกสารหรือเป็นลายลักษณ์อักษร
เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของผู้ต้องหา ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ วรรคสอง บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด” และวรรคสาม บัญญัติว่า “ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่า
บุคคลใดได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนผู้กระทำาความผิดมิได้” รวมทั้งเพื่อให้
สอดคล้องตามมาตรา ๔๐ ที่บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
56
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน