Page 61 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 61
ท่าทาง อันจะเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และควรใช้ถ้อยคำาที่เป็นกลาง เพื่อไม่ให้เป็นการประจาน
ดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น และตามคำาสั่งสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ที่ ๔๖๕/๒๕๕๐ เรื่อง การปฏิบัติ
เกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน และการจัดทำา
สื่อประชาสัมพันธ์ (แก้ไขเพิ่มเติม) ที่ห้ามอนุญาตหรือจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนงถ่ายภาพ สัมภาษณ์
หรือให้ข่าวของผู้ต้องหาที่อยู่ในระหว่างการควบคุมของตำารวจ ทั้งภายในและภายนอกที่ทำาการหรือ
สถานีตำารวจ และเหยื่ออาชญากรรม รวมทั้งภาพที่มีลักษณะอุจาดหรือทารุณโหดร้าย หรือล่วงละเมิด
สิทธิบุคคล หรือส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เว้นแต่พนักงาน
สอบสวนดำาเนินการเพื่อประโยชน์แห่งคดี หรือได้รับความยินยอมจากผู้ต้องหา เหยื่ออาชญากรรม
หรือผู้เสียหาย
จากการรับฟังการชี้แจงข้อเท็จจริงของผู้แทนสำานักงานตำารวจแห่งชาติ โดยการดำาเนินการ
ที่ผ่านมาตั้งแต่ขณะที่เป็นกรมตำารวจได้มีการกำาชับการปฏิบัติและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการ
แถลงข่าว หรือแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน ตามหนังสือกรมตำารวจ ที่ ๐๖๐๘/๔๕๔๕ ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม
๒๕๓๑ และจากการให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นของผู้แทนหน่วยงานต่างๆ จะเห็นได้ว่า หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องได้มีการให้ความสำาคัญในเรื่องการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยสำานักงานตำารวจแห่งชาติมีการกำาหนดหลักเกณฑ์
แนวทาง และวิธีปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน แต่ในทางปฏิบัติการดำาเนินการตามคำาสั่งสำานักงานตำารวจ
แห่งชาติ และประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ยังคงประสบปัญหาเนื่องจากไม่สามารถ
บังคับใช้ได้อย่างเคร่งครัดและไม่สามารถดำาเนินการได้ในทุกกรณี ทำาให้ยังคงมีการกระทำาที่ส่งผล
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้ได้พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น มีการทำาร้ายร่างกายผู้ต้องหา
จากประชาชนที่มามุงดูเหตุการณ์ การนำาเสนอข่าวของสื่อมวลชนขณะที่ผู้ต้องหานำาชี้ที่เกิดเหตุ
โดยไม่มีการปกปิดใบหน้า การให้ชื่อ–นามสกุล ที่อยู่ และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องหา รวมทั้งการ
นำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในลักษณะที่เป็นการประจาน ดูหมิ่นเหยียดหยาม
ซึ่งส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง เกียรติยศ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นต้น โดยการกระทำาดังกล่าว
ข้างต้นเป็นการกระทำาอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ มาตรา ๔๐ และมาตรา ๓๕ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๑
และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๔
๕.๒ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมจึงมีมติให้มี
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อสำานักงานตำารวจแห่งชาติ เพื่อดำาเนินการแก้ไขปัญหาและเพื่อให้สอดคล้อง
กับมิติด้านสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และพันธกรณี
ระหว่างประเทศ ที่ให้การคุ้มครองและรับรองไว้ ดังนี้
60
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน