Page 58 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 58
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติ
ที่เหมาะสมในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่าง
ถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำาเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง” ซึ่งคำารับสารภาพของผู้ต้องหา
ไม่สามารถนำามาใช้เป็นหลักฐานในการลงโทษได้ เนื่องจากไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่ของรัฐมุ่งเน้นให้
ผู้กระทำาผิดรับสารภาพ แต่ในปัจจุบันพนักงานสอบสวนบางคนมุ่งเน้นไปที่การทำาแผนประกอบ
คำารับสารภาพและผลคดีจึงทำาให้เกิดการข่มขู่ ล่อลวง หรือจูงใจให้รับสารภาพ ซึ่งทำาให้เกิดการกระทบ
ต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
การนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพหรือการทำา
แผนประทุษกรรม พนักงานสอบสวนอาศัยอำานาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๓๑ ที่บัญญัติว่า “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิด เท่าที่สามารถจะทำาได้
เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัว
ผู้กระทำาผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา” และมาตรา ๒๒๖ ที่บัญญัติ
ว่า “พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคลซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำาเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ ให้อ้างเป็น
พยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำามั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง
หรือโดยมิชอบประการอื่น และให้สืบตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วย
การสืบพยาน” เพื่อให้พยานหลักฐานมีน้ำาหนักประกอบการพิจารณาของศาล และให้ศาลเชื่อได้ว่าจำาเลย
เป็นผู้กระทำาความผิดและพิพากษาลงโทษ
ทั้งนี้ คำาสั่งสำานักงานตำารวจแห่งชาติ ที่ ๘๕๕/๒๕๔๘ ได้กำาหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการ
ให้ข่าวการแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพ ต่อสื่อมวลชน ซึ่งพนักงานสอบสวนไม่ควร
ให้ผู้ต้องหานำาไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพว่า ผู้ต้องหากระทำาผิดอย่างไร เพราะการนำาชี้
ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพดังกล่าวมิใช่พยานหลักฐานที่จะนำามารับฟังประกอบคำารับสารภาพ
ของผู้ต้องหา แต่ถ้าเป็นการนำาชี้ประกอบคำารับอื่น เช่น นำาชี้จุดที่ซ่อนทรัพย์สินซึ่งได้มาจากการ
กระทำาผิด สิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทำาผิด หรือสงสัยว่าจะใช้ในการกระทำา
ความผิด หรืออาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ให้ผู้ต้องหานำาชี้ได้และป้องกันมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไป
ในที่นำาชี้ โดยให้พึงระมัดระวังการใช้ถ้อยคำา หรือกิริยาท่าทางที่เห็นว่าเป็นการข่มขู่ หรือการปฏิบัติ
ที่ไม่สมควรแก่ผู้ต้องหา และการทำาร้ายร่างกายผู้ต้องหา ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม รวมทั้ง ห้ามเจ้าพนักงาน
นำาผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปีบริบูรณ์ ไปชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เพราะจะเป็น
การประจานเด็ก และอาจเป็นการกระทำาผิดกฎหมายเกี่ยวกับเด็ก นอกจากนี้ ห้ามนำาผู้เสียหาย พยาน
เข้าร่วมในการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพของผู้ต้องหาเป็นอันขาด โดยเฉพาะผู้เสียหายที่
เป็นเด็ก สตรี พระภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช
ประเด็นสำาคัญที่จะต้องพิจารณา คือ ในบางครั้งหรือบางสถานที่ที่มีประชาชนจำานวนมากมา
มุงดูเหตุการณ์ในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ หรือการทำาแผน
ประทุษกรรม โดยมีการทำาร้ายร่างกายผู้ต้องหาในขณะนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ รวมทั้ง
การที่ผู้สื่อข่าวมาทำาข่าวในขณะที่มีการนำาชี้ที่เกิดเหตุ โดยมีการนำาเสนอข้อมูลสู่สาธารณชนโดยไม่มี
57
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน