Page 60 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 60
ปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมีความก้าวหน้ามากขึ้น เนื่องจากมีพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ
ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ซึ่งต้องมีการเปิดเผยข้อมูล แต่จะเป็นการไม่ให้ข้อมูลทั้งหมดเนื่องจากอาจทำาให้
เกิดผลกระทบต่อผู้ต้องหาหรือจำาเลย และญาติของผู้ต้องหาหรือญาติของจำาเลย ซึ่งการที่ผู้ต้องหาหรือ
บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาความผิดไปทำาแผนประกอบคำารับสารภาพ และมีการถ่ายภาพเพื่อนำาเสนอ
เป็นข่าวผ่านทางสื่อต่างๆ ก็ทำาให้เกิดผลร้ายต่อบุคคลนั้น ซึ่งสังคมจะเกิดความไม่ไว้วางใจในตัว
บุคคลนั้น รวมทั้งคนในครอบครัวของบุคคลนั้นด้วย การที่หน่วยงานของรัฐมีการออกสื่อเพื่อโน้มน้าว
ให้คนในสังคมยอมรับและประณามว่าบุคคลนั้นกระทำาความผิดโดยที่ศาลยังไม่ได้มีคำาพิพากษา ทำาให้
เกิดผลกระทบต่อคนรอบข้างและประชาชน ซึ่งเป็นการกระทำาที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕ มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๑ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐
และข้อ ๑๔ โดยบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำาผิดทางอาญามีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีผิดตามกฎหมาย และบุคคลที่ถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพต้องได้รับการ
ปฏิบัติด้วยความมีมนุษยธรรมและความเคารพในศักดิ์ศรีแต่กำาเนิดแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งการนำาตัว
ผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพควรกระทำาเฉพาะเท่าที่จำาเป็น และเป็นไป
ด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งควรมีมาตรการในการป้องกันเพื่อมิให้ผู้ต้องหาถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ส่วนการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ควรเป็นผู้ที่แถลงความคืบหน้าโดยไม่ต้องนำาตัวผู้ต้องหา
หรือญาติของผู้ต้องหามาร่วมแถลงข่าวด้วย
ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำารวจนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้
ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน จะต้องเป็นไปเพื่อเป็นการรวบรวม
พยานหลักฐานให้มีน้ำาหนักเพียงพอประกอบการพิจารณาของศาล และให้ศาลเชื่อได้ว่าจำาเลยเป็น
ผู้กระทำาความผิดและพิพากษาลงโทษ มิใช่การนำาตัวผู้ต้องหาไปประจาน รวมทั้งต้องมีการคำานึงถึง
ความปลอดภัยของผู้ต้องหา การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ต้องหา และการป้องกันมิให้เกิดการ
กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย รวมทั้งชื่อเสียงด้วย ซึ่งการใช้เสรีภาพของสื่อมวลชน
ในการนำาเสนอข่าวจะต้องไม่ไปกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล เกียรติยศ ชื่อเสียง ตลอดจนความเป็นอยู่
ส่วนตัว โดยสื่อมวลชนสามารถรายงานเหตุการณ์เพื่อให้สังคมได้ตระหนักถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
และเพื่อให้สอดคล้องกับประมวลระเบียบการตำารวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ ๓๐ ข้อ ๑ ห้ามมิให้ผู้มี
หน้าที่ในการให้สัมภาษณ์หรือแถลงข่าวให้ข่าว กรณีที่คดีที่อยู่ในระหว่างการสืบสวนหรือสอบสวน
ยังไม่เสร็จ และเหตุการณ์หรือเรื่องราวซึ่งถ้าหากเปิดเผยต่อประชาชนอาจเป็นแบบที่บุคคลอื่นจะ
ถือเอาเป็นตัวอย่างในการกระทำาขึ้นอีก เช่น แผนประทุษกรรมต่างๆ ของคนร้าย หรือวิธีการที่แสดงถึง
การฉ้อโกง การกระทำาอัตวินิบาตกรรม และวิธีการอันชั่วร้ายอื่นๆ รวมทั้งการห้ามมิให้ทำาป้ายชื่อ
แขวนคอผู้ต้องหา แล้วนำาออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหรือแพร่ภาพ ซึ่งคำาสั่งสำานักงานตำารวจ
แห่งชาติ ที่ ๘๕๕/๒๕๔๘ ได้กำาหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์
การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชนไว้อย่างชัดเจน โดยเจ้าหน้าที่ตำารวจควรระมัดระวังถ้อยคำา หรือกิริยา
59
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน