Page 281 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 281
280 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ได้แก่ มาตรการที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนของการพิจารณาคดี เช่น สิทธิในการเข้าถึงที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
ในทุกขั้นตอนของการพิจารณาคดี และสิทธิในการได้รับการจัดให้มีล่าม หากผู้ถูกกล่าวหาไม่เข้าใจ
ภาษาที่ใช้ในการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีในศาล สิทธิที่จะขอให้ศาลที่เหนือชั้นขึ้นไปทบทวน
คำาพิพากษา สิทธิในการขอลดหย่อนผ่อนหรืออภัยโทษ เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้แทน สำานักงาน กสม.
ได้ให้ข้อมูลแนวทางการตีความคำาว่า คดีอุกฉกรรจ์ที่สุด (The most serious crime) ว่า ผู้เสนอ
รายงานพิเศษของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติด้านการสังหารนอกกระบวนการยุติธรรม
(Special rapporteur on extrajudicial, summary or arbitrary executions) เห็นว่า
คดีอุกฉกรรจ์ที่สุด หมายถึง การทำาให้บุคคลอื่นเสียชีวิตโดยเจตนา กรณีความผิดที่เกี่ยวกับยาเสพติด
คณะกรรมการประจำากติกา ICCPR ตีความว่า ความผิดดังกล่าวไม่จัดเป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่สุด
(๒) พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (Optional Protocol to
the Convention Against Torture (OPCAT))
F ผู้แทน สำานักงาน กสม. ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเข้า
เป็นภาคีพิธีสาร OPCAT ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมจัดขึ้น โดยผู้แทนสำานักงาน
กสม. ได้ให้ข้อมูลสนับสนุนให้รัฐบาลเข้าเป็นภาคี เนื่องจากพิธีสารฯ มีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อพัฒนา
ระบบการเข้าเยี่ยมสถานที่ ซึ่งทำาให้บุคคลเสื่อมเสียซึ่งอิสรภาพโดยหน่วยงานระหว่างประเทศ ได้แก่
คณะอนุกรรมการป้องกันการทรมานแห่งสหประชาชาติ (UN Subcommittee on Prevention of
Torture (SPT)) และหน่วยงานระดับชาติที่เป็นอิสระ ได้แก่ กลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National
่
Preventive Mechanism (NPM)) โดยเป็นการตรวจเยี่ยมอย่างสมำาเสมอ เพื่อป้องกันการทรมาน
การปฏิบัติและการลงโทษที่ทารุณ ขาดมนุษยธรรม หรือลดทอนความเป็นมนุษย์ ที่ผ่านมากระทรวง
ยุติธรรมได้ทาบทามให้ กสม. ทำาหน้าที่เป็นกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (NPM) ภายใต้พิธีสาร OPCAT
ซึ่ง กสม. ได้มีมติยินดีตอบรับการทำาหน้าที่ดังกล่าวหากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสาร OPCAT
(๓) การให้ความเห็นในการยกร่างข้อบทเรื่องการขับไล่คนต่างด้าว
F ผู้แทน สำานักงาน กสม. ได้เข้าร่วมการประชุมที่จัดโดยกรมสนธิสัญญาและ
กฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาร่างข้อบทว่าด้วยการขับไล่คนต่างด้าว (Draft Articles
on Expulsion of Aliens) ซึ่งคณะกรรมการกฎหมายระหว่างประเทศ (International Law Commission
(ILC)) ได้ยกร่างขึ้นเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ๖ ของสหประชาชาติพิจารณาจัดทำาเป็นตราสารระหว่าง
ประเทศในอนาคตต่อไป ในการจัดทำาร่างข้อบทดังกล่าว ILC ได้ประมวลหลักกฎหมายจารีตประเพณี
และสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่มีอยู่แล้ว ถือเป็นการพัฒนากฎหมายระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าว
ซึ่งครอบคลุมหลายมิติ เช่น ความมั่นคง สิทธิมนุษยชน และการเข้าเมือง เป็นต้น การประชุมครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์สำาคัญเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการเตรียมข้อมูลและ
กำาหนดท่าทีของประเทศไทยในการพิจารณารายงานของ ILC ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญที่ ๖๙ ซึ่งผู้แทน สำานักงาน กสม. ได้ให้ความเห็นว่า หลักการต่าง ๆ ที่ปรากฏในร่างข้อบทฯ