Page 278 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 278
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 277
ภายหลังจากเหตุการณ์การเข้าควบคุมอำานาจ
โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คชส.) เมื่อวันที่
๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีผู้แทนจาก
สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำา
ประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศ และองค์กร
เอกชนจากประเทศต่าง ๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรแคนาดา โปรตุเกส สำานักงาน
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ประจำาประเทศไทย สำานักงานโครงการพัฒนา
แห่งสหประชาชาติ (UNDP) ประจำาประเทศไทยและคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล (International
Commission of Jurists (ICJ)) ได้ขอเข้าพบ ประธาน กสม. เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การเมือง
ภายในประเทศและผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยประเด็นสำาคัญที่ผู้แทนหน่วยงานเหล่านี้
ได้หยิบยกขึ้นหารือได้แก่ ความห่วงกังวลต่อการจำากัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม
การที่ คสช. เรียกบุคคลต่าง ๆ ไปรายงานตัวและสถานที่ควบคุมตัว การใช้ศาลทหารพิจารณาคดีต่อ
พลเรือน เสรีภาพของสื่อ แผนการดำาเนินงานของรัฐบาลที่จะนำาไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
และการเลือกตั้งในอนาคต รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ทั้งนี้ ประธาน กสม. ได้ตอบข้อซักถาม
และแจ้งให้บุคคลเหล่านี้ทราบเกี่ยวกับการดำาเนินงานของ กสม. ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประสานงาน
กับฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เป็นไปโดยสอดคล้องและตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของหลักสิทธิมนุษยชนและแนวทางปฏิบัติที่เป็นสากล
กสม. ได้ทำาหน้าที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ของไทยด้วยการติดตามตรวจสอบการดำาเนินงานของรัฐว่าเป็นไปตามพันธกรณีดังกล่าว
หรือไม่ อย่างไร และให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำาไปสู่การปรับปรุงการปฏิบัติที่ทำาให้เกิดการเคารพ
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนดียิ่งขึ้น
ในปี ๒๕๕๗ กสม. ได้มีบทบาทในการติดตามการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในกรอบสหประชาชาติ ดังนี้
F การจัดทำารายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ของไทย