Page 276 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 276

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 275











                       เข้าร่วม  โดยที่ประชุมได้รับรองเอกสาร Yangon Statement  ซึ่งมีสาระสำาคัญเรียกร้องให้รัฐบาลของ

                       ประเทศในภูมิภาคตระหนักถึงความสำาคัญ และความเกี่ยวพันกันระหว่างสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และ
                       การพัฒนา  โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการใช้ที่ดินสำาหรับเป็นพื้นที่ทำากิน  กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน  โครงการ

                       ที่จะสนับสนุนชาวนาและเกษตรกร  รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งในเรื่องที่ดินทำากินและการบริหารจัดการ
                       ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นผลมาจากการลงทุนจากต่างชาติในธุรกิจด้านการเกษตรและป่าไม้














                                 การเข้าร่วมประชุม Informal ASEM Seminar on Human Rights ครั้งที่ ๑๔
                                 ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

                                 สำานักงาน กสม. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการสัมมนา ASEM อย่างไม่เป็นทางการว่าด้วย
                       สิทธิมนุษยชน ครั้งที่ ๑๔ ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม

                       โดยหัวข้อของการสัมมนาในครั้งนี้ ได้แก่ “สิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ” ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย

                       ผู้แทนทั้งจากหน่วยงานรัฐบาล ภาคประชาสังคม องค์การเอกชน นักวิชาการ สถาบันสิทธิมนุษยชน
                       แห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากภูมิภาคเอเชียและยุโรปเข้าร่วมมากกว่า ๒๐๐ คน  เนื่องจากในปัจจุบัน
                       ประเด็นสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจมีความเกี่ยวข้องและต้องการความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและภาคธุรกิจ

                       ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันในการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้ได้รับผลกระทบ  ทั้งนี้

                       วัตถุประสงค์ของการจัดประชุมภายใต้หัวข้อดังกล่าว เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา
                       รวมทั้งเพื่อจัดทำาข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาลของประเทศสมาชิก ASEM สำาหรับรูปแบบของการประชุม
                       ได้ถูกแบ่งออกเป็น ๔ หัวข้อหลักที่สำาคัญ คือ

                                 ๑.  หน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนจากการดำาเนินงานที่ถือเป็นการละเมิดของ

                       ภาคธุรกิจ (State Duty to Protect Human Rights Against Violations by Businesses)
                                 ๒.  ความรับผิดชอบของภาคธุรกิจและการมีส่วนร่วมเพื่อปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
                       (Corporate Responsibility and its Contributions to Human Rights Implementation)

                                 ๓.  การติดตาม การรายงาน และการเข้าถึงการเยียวยา (Monitoring, Reporting and

                       Access to Remedies)
                                 ๔.  ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียที่หลากหลาย (Multi-stakeholder cooperation)


                                 สำาหรับสาระสำาคัญที่ได้รับจากการประชุมในครั้งนี้ มีดังนี้
                                 ๑.  รัฐสมาชิก ASEM ควรดำาเนินการตามหลักการชี้แนะ เรื่อง สิทธิมนุษยชนสำาหรับ
   271   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281