Page 282 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 282
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 281
เป็นหลักการที่ดีแต่ยังมีบางประเด็นซึ่งละเอียดอ่อนและอาจกระทบต่อไทย เช่น เรื่องผู้ลี้ภัยและคนไร้รัฐ
ฝ่ายไทยจึงอาจแสดงท่าทีว่าการจัดทำาหรือพัฒนาร่างข้อบทนี้ควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจใช้
ในลักษณะเป็นแนวทาง (soft law) ไปก่อน และได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีร่างข้อบทฯ ที่ระบุเรื่อง
การห้ามการทรมาน อาจพิจารณาเนื้อหาในร่างพระราชบัญญัติเพื่ออนุวัติการตามอนุสัญญาต่อต้าน
การทรมานฯ (CAT) และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลจากการสูญหายโดยถูกบังคับ (CED) ที่อยู่
ระหว่างการดำาเนินการของกระทรวงยุติธรรมประกอบด้วย นอกจากนี้ ผู้แทนสำานักงานฯ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า
ร่างข้อบทฯ ที่กำาหนดหลักการไม่ส่งกลับบุคคลไปยังประเทศที่บุคคลอาจถูกทรมาน หรือถูกกระทำา
่
หรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือยำายีศักดิ์ศรีนั้น แม้ว่าจะมีหลักการสอดคล้องกับข้อ ๓ ของ
อนุสัญญา CAT แต่ขอบเขตของเนื้อหากว้างกว่า เนื่องจากข้อ ๓ ของอนุสัญญา CAT ห้ามการส่งบุคคล
กลับไปยังดินแดนที่ผู้นั้นอาจถูกทรมานเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงดินแดนที่บุคคลอาจถูกกระทำาหรือลงโทษ
ที่โหดร้ายฯ ซึ่งในทางปฏิบัติอาจมีปัญหาเนื่องจากยังไม่มีคำานิยามที่ชัดเจนว่าการกระทำาลักษณะใดจะ
เข้าข่ายการกระทำาหรือการลงโทษที่โหดร้ายดังกล่าว
อย่างไรก็ดี การจัดทำาร่างข้อบทเรื่องการขับไล่คนต่างด้าวคงจะต้องใช้เวลาอีก
ยาวนานในการเจรจากว่าที่จะพัฒนาเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับ เนื้อหาของร่างข้อบท
ในหลายเรื่องเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามสนธิสัญญาฉบับต่าง ๆ ที่ไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว
เช่น เรื่องการไม่ส่งบุคคลกลับไปยังดินแดนที่อาจถูกทรมาน (non-refoulement) การห้ามการทรมาน
บุคคลไม่ว่าในกรณีใด ๆ ตลอดจนการดูแลสิทธิของกลุ่มสตรีและเด็ก เป็นต้น ดังนั้น กสม. ซึ่งมีอำานาจ
หน้าที่ในเรื่องดังกล่าวจะได้ติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศของหน่วยงาน
ภาครัฐต่อไป แม้ร่างข้อบทนี้จะยังไม่มีผลใช้บังคับในทางกฎหมายระหว่างประเทศก็ตาม
เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๗ คณะผู้แทนจากสมาคมป้องกันการทรมาน (Association
for the Prevention of Torture (APT)) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่
นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ได้ประชุมร่วมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อนุกรรมการ
ผู้ชำานาญการประจำา กสม. และผู้บริหารของสำานักงาน กสม. ที่สำานักงาน กสม. เกี่ยวกับการ
ทำาหน้าที่ของกลไกป้องกันการทรมานระดับชาติ (National Preventive Mechanism
(NPM)) ตามพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ (Optional Protocol to the
Convention Against Torture (OPCAT)) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับ
อำานาจหน้าที่และแนวทางการดำาเนินงานขององค์กรที่ทำาหน้าที่เป็น NPM สำาหรับประกอบ
การเตรียมความพร้อมของ กสม. หากรัฐบาลได้ดำาเนินการเข้าเป็นภาคีพิธีสาร OPCAT