Page 279 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 279

278  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    และประธาน กสม. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำานักงาน กสม. ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์การเสนอรายงานของ

                    คณะผู้แทนไทย ระหว่างวันที่ ๓๐ เมษายน – ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ที่สำานักงานสหประชาชาติ นครเจนีวา
                                                                 ้
                    สมาพันธรัฐสวิส  ทั้งนี้ รายงานคู่ขนานของ กสม. ได้เน้นยำาว่าแม้ประเทศไทยจะได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
                    ต่อต้านการทรมานฯ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐  แต่การทรมานยังคงเป็นปัญหาที่สำาคัญในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่
                    เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจค้น ควบคุม จับกุม และคุมขังบุคคลไม่เป็นไปตามที่

                    กฎหมายกำาหนดและการขาดความเอาจริงเอาจังในการดำาเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่กระทำาผิดทั้งในทางอาญา
                    และวินัย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความ

                    มั่นคง  รัฐบาลจึงควรให้ความสำาคัญกับการปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ให้เป็นไป
                    ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด  สำาหรับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมาน

                    จำานวนมาก  รัฐควรพิจารณาประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ได้แก่ พระราชบัญญัติ
                    กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗  และพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

                    พ.ศ. ๒๕๔๘  ตามความจำาเป็นอย่างแท้จริงและในช่วงเวลาที่จำากัด  ในบางพื้นที่ที่สถานการณ์ดีขึ้น
                    รัฐควรพิจารณาประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑  ซึ่งเป็น

                    กฎหมายที่มีบทบัญญัติกระทบสิทธิน้อยกว่ากฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงสองฉบับที่กล่าวมาแทน
                    นอกจากนี้ รัฐควรกำาหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกจับกุมและป้องกันการทรมาน

                    รวมถึงดูแลให้ผู้เสียหายจากการทรมานได้รับการชดเชยเยียวยาที่พอเพียงและเป็นธรรมให้สอดคล้อง
                    กับพันธกรณีของไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ  และกติการะหว่างประเทศว่าด้วย

                    สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองด้วย
                        นอกจากนี้ ในปี ๒๕๕๗  สำานักงาน กสม. ได้ดำาเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตาม

                    พันธกรณีในสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี  โดยการให้ข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
                    แก่หน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  ทั้งในเรื่องของการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับบทบัญญัติ

                    ของสนธิสัญญาบางฉบับ  และการดำาเนินการเพื่อให้บุคคลได้รับสิทธิที่ได้รับการรับรองในสนธิสัญญา
                    ในทางปฏิบัติ และการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาบางฉบับเพิ่มเติม ดังนี้

                              ๑)  การให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับ

                                  อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
                                  ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำายีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคล

                                  จากการสูญหายโดยถูกบังคับ

                                  สำานักงาน กสม. ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากสำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเข้าร่วม
                    ในคณะทำางานพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน พ.ศ. .... ที่กรมคุ้มครอง

                    สิทธิและเสรีภาพตั้งขึ้น เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๗ มาเป็นระยะ ๆ และได้ให้ข้อคิดเห็น
                    ในประเด็นต่าง ๆ บนพื้นฐานของรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการ

                    ปรับปรุงกฎหมายของ กสม. เรื่องการอนุวัติกฎหมายไทยตามอนุสัญญา CAT และ CED  รวมถึงพันธกรณี
   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284