Page 277 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 277

276  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    ภาคธุรกิจของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Human Rights and Business (UNGPs))

                    ให้บรรลุผลในระดับชาติ  รวมทั้งพัฒนาแผนปฏิบัติการระดับชาติ (National Action Plan) ในเรื่องดังกล่าว
                    โดยเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดทำาเพื่อความโปร่งใส

                              ๒.  รัฐควรต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศทางด้านสิทธิมนุษยชนที่มีอยู่ รวมถึง
                    พันธกรณีด้านแรงงาน และควรปรับปรุงกฎหมายภายในให้มีการดำาเนินงานที่ส่งเสริมและคุ้มครอง

                    สิทธิมนุษยชน  นอกจากนี้ ควรมีการจัดทำารายงานในระดับชาติเกี่ยวกับเรื่องธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
                    โดยอาจพิจารณาบรรจุอยู่ในกระบวนการจัดทำารายงานที่มีอยู่ อาทิ รายงานการทบทวนสถานการณ์

                    สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review (UPR)) หรือ รายงานตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ
                              ๓.  รัฐควรต้องมีมาตรการที่เหมาะสมในการกำากับดูแล รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับ

                    บรรษัทข้ามชาติ ตลอดจนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อประกันให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐาน
                    สิทธิมนุษยชน

                              ๔.  รัฐควรมีเป้าหมายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะในกรณีที่รัฐบาลมีฐานะ
                    เป็นนักลงทุน หรือดำาเนินการจัดซื้อจัดจ้าง หรือโอนกิจการของรัฐที่เป็นการบริการสาธารณะให้เอกชน

                    มาดำาเนินการ
                              ๕.  การพิจารณาคดีของศาลและกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นอิสระ ซื่อสัตย์ และ

                    เป็นกลาง เป็นปัจจัยสำาคัญในการประกันการเข้าถึงการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ การรับรู้ข้อมูล
                    ข่าวสารเป็นสิ่งจำาเป็นสำาหรับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในการเข้าถึงกระบวนการเยียวยา  ขณะเดียวกัน รัฐควร

                    ต้องสนับสนุนกลไกที่มิใช่กระบวนการยุติธรรม (non-judicial mechanism) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำาคัญ
                    ในกลไกร้องทุกข์ และทำาหน้าที่ทั้งในการเยียวยาและการป้องกัน

                              ๖.  ภาคประชาสังคมและสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรได้รับการพัฒนา เพื่อเสริมสร้าง
                    ขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายในการเข้าถึงการเยียวยา อาทิ การให้ความช่วยเหลือ

                    ทางกฎหมายที่ไม่มีค่าใช้จ่าย
                              ๗.  ควรมีมาตรการเพื่อช่วยให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถทำาหน้าที่ได้บรรลุ

                    ตามอาณัติที่มีอยู่ ในการดูแลประเด็นทางด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงการคุ้มครองความเป็น
                    อิสระของสถาบันสิทธิมนุษยชน  การประกันอำานาจหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนให้เพียงพอในการแก้ไข

                    และเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจและการฝึกอบรมให้กับบุคลากร เพื่อให้มีความรู้
                    ความเข้าใจในการทำางานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
   272   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282