Page 280 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 280

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 279











                       ที่ไทยต้องปฏิบัติตามอนุสัญญา CAT  หรือพันธกรณีที่ไทยจะต้องปฏิบัติภายหลังจากการเข้าเป็น

                       ภาคีอนุสัญญา CED แล้ว ซึ่งร่างพระราชบัญญัติฯ ที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีเนื้อหาที่สอดคล้อง
                       กับหลักการและบทบัญญัติที่สำาคัญของอนุสัญญา CAT และ CED เป็นส่วนใหญ่ ดังนี้

                                     กรณีอนุสัญญา CAT  ร่างพระราชบัญญัติฯ รองรับพันธกรณีในเรื่องของนิยามการ
                                                                            ่
                       ทรมาน และการกระทำาหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือยำายีศักดิ์ศรี (ข้อ ๑ และ ๑๖)  การห้าม
                       การทรมานไม่ว่าในสถานการณ์พิเศษใด ๆ (ข้อ ๒)  การห้ามส่งบุคคลไปยังดินแดนที่อาจถูกทรมาน (ข้อ ๓)
                       การกำาหนดให้การทรมานเป็นความผิดอาญาและมีบทลงโทษที่เหมาะสม (ข้อ ๔)  การประกันการสืบสวน

                       โดยไม่ลำาเอียง (ข้อ ๑๒)  การรับรองสิทธิของผู้กล่าวอ้างว่าถูกทรมานในการขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                       ตรวจสอบและการคุ้มครองผู้เสียหายและพยาน (ข้อ ๑๓)  สิทธิของผู้เสียหายในการได้รับค่าสินไหมทดแทน

                       (ข้อ ๑๔)  และการห้ามใช้คำาให้การที่ได้จากการทรมานเป็นหลักฐานในการดำาเนินคดี (ข้อ ๑๕)
                                     กรณีอนุสัญญา CED  ร่างพระราชบัญญัติฯ รองรับพันธกรณีในเรื่องของการห้ามบังคับ

                       บุคคลให้สูญหายไม่ว่าในสถานการณ์พิเศษใด ๆ (ข้อ ๑)  การกำาหนดนิยามการบังคับบุคคลให้สูญหาย
                       (ข้อ ๒)  การกำาหนดให้เป็นความผิดอาญาและมีบทลงโทษและอายุความที่เหมาะสม (ข้อ ๔, ๗ และ ๘)

                       การกำาหนดความรับผิดของผู้บังคับบัญชา (ข้อ ๖)  การกำาหนดไม่ให้เป็นความผิดทางการเมืองเพื่อ
                       ประโยชน์ในการส่งเสริมความร่วมมือทางอาญาระหว่างรัฐภาคี (ข้อ ๑๑)  การห้ามส่งบุคคลไปยังดินแดน

                       ที่อาจถูกบังคับให้สูญหาย (ข้อ ๑๖)  การห้าม คุมขังบุคคลในสถานที่ลับ การบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการ
                       จำากัดเสรีภาพของบุคคล และการรับรองสิทธิของญาติและทนายในการติดต่อและเยี่ยมผู้ถูกจำากัดเสรีภาพ

                       (ข้อ ๑๗)  การรับรองสิทธิของผู้เกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ถูกจำากัดเสรีภาพและข้อยกเว้น
                       บางประการ (ข้อ ๑๘ และ ๒๐)  และการกำาหนดความหมายของ “ผู้เสียหาย” และการรับรองสิทธิของ

                       ผู้ถูกบังคับให้สูญหายในการได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและค่าสินไหมทดแทน (ข้อ ๒๔)

                                 ๒)  การให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                                     ด้านสิทธิมนุษยชน

                                     (๑)  พิธีสารเลือกรับฉบับที่สองแห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ

                                         สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights
                                         (ICCPR)) เรื่องการยกเลิกโทษประหารชีวิต
                                         F  ผู้แทนสำานักงาน กสม. ได้เข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้

                       ในการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                       ซึ่งจัดโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม และได้ให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา
                       ในเรื่องนี้ว่า เนื่องจากพิธีสารฉบับนี้มีสาระสำาคัญเกี่ยวกับการยกเลิกโทษประหารชีวิต ดังนั้น การจะ
                       พิจารณาเข้าเป็นภาคีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมของประเทศไทย  อย่างไรก็ดี หากรัฐยังคง

                       โทษประหารชีวิตไว้ รัฐมีหน้าที่ประกันว่า ผู้ถูกกล่าวหาในคดีโทษประหารชีวิตจะได้รับการพิจาณาคดี

                       อย่างเป็นธรรมในทุกขั้นตอนและสอดคล้องกับบทบัญญัติ ข้อ ๑๔ ของกติกา ICCPR  หลักประกันเหล่านี้
   275   276   277   278   279   280   281   282   283   284   285