Page 269 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 269
268 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
(๒) การพิจารณาแผนยุทธศาสตร์ ๕ ปีของ APF
โดยที่แผนยุทธศาสตร์ปัจจุบันของ APF ระหว่างปี ๒๕๕๓ - ๒๕๕๘ จะสิ้นสุดลง
ในการนี้ APF จึงได้จัดตั้งคณะทำางานจัดทำาแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติของออสเตรเลีย อินเดีย เกาหลีใต้ ปาเลสไตน์ และฟิลิปปินส์ เพื่อจัดทำาร่างแผนยุทธศาสตร์ APF
ฉบับใหม่ สำาหรับช่วงระหว่างปี ๒๕๕๘ - ๒๕๖๓ โดยมี Dr. Muhyieddeen Touq อดีตประธานสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติของจอร์แดนทำาหน้าที่ประสานงานการประชุมคณะทำางานฯ ทั้งนี้ Dr. Touq
ได้นำาเสนอประเด็นสำาคัญที่จะได้รับการบรรจุให้อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ฉบับใหม่ โดยเน้นในเรื่องการส่งเสริม
สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และความมั่นคง โดยเน้นสิทธิทางการเมือง สิทธิพลเมือง สิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรมเป็นหลัก สำาหรับกลุ่มบุคคลและประเด็นที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ สตรี
ผู้พิการ ผู้สูงอายุ การเคลื่อนย้ายประชากร และประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ คณะทำางานฯ
ยังได้เสนอให้ APF พิจารณาถึงกระบวนการจัดทำาเป้าหมายว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน สำาหรับช่วงหลัง
ปี ๒๕๕๘ (Post 2015 Sustainable Development Goals) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๕๘
เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับให้เข้ากับแผนยุทธศาสตร์ของ APF
๒) การประชุม Senior Executive Officers ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗
ที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
เลขาธิการ กสม. ได้เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายผู้บริหารสูงสุดของสำานักงาน (Senior
Executive Officers Roundtable (SEOs)) ของ APF ระหว่างวันที่ ๒๓ - ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ ซึ่งจัด
เป็นครั้งที่ ๔ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ประสบการณ์และวิชาการ
ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการองค์กร การวางแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งการประเมินและ
ติดตามผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำานักงาน
รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือและให้คำาแนะนำาระหว่างผู้บริหารสำานักงานด้วยกันเอง
สำาหรับหัวข้อสำาคัญของการประชุม SEOs ในครั้งนี้ ได้แก่ ประเด็นเรื่อง (๑) บทบาทของ
SEOs ในการส่งเสริมความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียที่สำาคัญ อาทิ หน่วยงานของรัฐ รัฐสภา องค์กรตุลาการ
หน่วยงานด้านความมั่นคง สื่อมวลชน โดยการแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อช่วยสนับสนุนการ
ทำางานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (๒) บทบาทของสถาบันสิทธิฯ และความร่วมมือระดับภูมิภาค
ในการแก้ไขปัญหาผู้แสวงหาที่พักพิงและผู้ลี้ภัย พร้อมกับได้แสดงความกังวลในประเด็นเรื่องสถานที่
กักกันของหน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง การแสวงหาประโยชน์จากผู้ลี้ภัย การเข้าถึงการบริการขั้นพื้นฐาน
ซึ่งรวมถึงการศึกษาและสาธารณสุขโดยเฉพาะในเด็ก รวมทั้งการบังคับใช้แรงงานจากบุคคลเหล่านี้
(๓) การปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในช่วงความไม่สงบทางการเมือง ซึ่งเลขาธิการ กสม.
ได้นำาเสนอวิธีการดำาเนินงานของ กสม. ในการติดตามและตรวจสอบสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง
ในประเทศไทยในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๖ - พฤษภาคม ๒๕๕๗ (๔) ประเด็นเรื่องธุรกิจกับ
สิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะผลกระทบจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ