Page 270 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 270
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 269
อนามัยของประชาชน ความไม่สมดุลกันระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการคุ้มครองและการเคารพ
สิทธิมนุษยชน รวมทั้งการใช้อำานาจต่อรองระหว่างประเทศขนาดเล็กกับธุรกิจข้ามชาติที่มีอิทธิพล
ตลอดจนการละเมิดสิทธิมนุษยชนของแรงงานต่างด้าว เป็นต้น
๓) การประชุม Asia Pacific Regional Workshop on the Rights of Older Persons
APF ร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของออสเตรเลีย (Australian
National Human Rights Commission) ได้ร่วมกันจัดการประชุมขึ้นระหว่างวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤษภาคม
๒๕๕๗ ที่ ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดย สำานักงาน กสม. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมด้วย โดยมี
วัตถุประสงค์ เพื่อแสวงหาท่าทีร่วมกันของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เกี่ยวกับ
การผลักดันให้มีการจัดทำาร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ ซึ่งจะสามารถช่วยกำาหนดแนวทาง
ที่ชัดเจนในการกำาหนดนโยบายระดับชาติในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งสามารถแยกประเด็นผู้สูงอายุออก
จากปัญหาของกลุ่มบุคคลที่เปราะบางในสังคม (Vulnerable Groups) กลุ่มอื่น ๆ ตลอดจนเห็นควร
เสนอให้มีการจัดตั้ง Treaty Body ในลักษณะเดียวกับคณะกรรมการภายใต้อนุสัญญาสิทธิมนุษยชน
ฉบับอื่น ๆ เพื่อทำาหน้าที่ติดตามผลการประชุมในระดับชาติ และจัดให้มีการรายงานผลเป็นระยะ ๆ
โดยรัฐภาคีอนุสัญญา รวมทั้งจัดทำาข้อเสนอแนะไปยังรัฐภาคีเพื่อให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อบท
ของอนุสัญญา
ในระดับภายในประเทศที่ประชุมเห็นชอบให้สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในฐานะ
ที่เป็นหน่วยงานที่เป็นอิสระและมีความเป็นกลาง ทำาหน้าที่เป็นกลไกติดตามตรวจสอบการทำางานในระดับ
ชาติ (National Monitoring Mechanism) เช่นเดียวกับที่บัญญัติไว้ในอนุสัญญาคนพิการ เนื่องจากสถาบัน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีความเชี่ยวชาญในการติดตามพันธกรณีของรัฐภายใต้อนุสัญญาอื่น ๆ อยู่แล้ว
รวมทั้งยังสามารถเป็นตัวกระตุ้นให้รัฐจัดทำารายงานตามพันธกรณีเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการภายใต้
อนุสัญญา และให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการปรับปรุงกฎหมายและแนวนโยบาย ตลอดจน
การทำาหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ