Page 267 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 267
266 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
(๒) ความคุ้มกันและความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ (Functional immunity
and independence)
การที่ SCA ได้ให้เหตุผลในการให้ความสำาคัญกับประเด็นดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้
การปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลจากภายนอก หรือการถูก
ข่มขู่ที่จะมีการดำาเนินคดีทางกฎหมายต่อสมาชิก ดังนั้น จึงมีความเห็นว่าพระราชบัญญัติคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรจะมีบทบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน พร้อมกับผลักดันให้
กสม. รณรงค์ในเรื่องนี้ต่อไป
(๓) การรายงานสถานการณ์ทางด้านสิทธิมนุษยชนที่ทันต่อเหตุการณ์
SCA ได้แสดงความกังวลต่อการที่ กสม. ไม่สามารถเผยแพร่รายงานสถานการณ์
ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงได้ทันเวลา โดยยกตัวอย่างกรณีเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง
ที่มีความรุนแรง เมื่อปี ๒๕๕๓ ซึ่งมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำานวนมาก รวมทั้งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
โดยหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย แต่ กสม. ใช้เวลาถึง ๓ ปี ในการเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์
ดังกล่าว
ต่อมา ในการชุมนุมทางการเมืองซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี ๒๕๕๖ โดยมี
จำานวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำานวนมาก ซึ่ง กสม. ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำาเนินการของ กสม.
ในการติดตามและสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ กสม. ในสถานการณ์
ที่มีความยากลำาบาก พร้อมกับการใช้ความพยายามในการปรับปรุงวิธีติดตาม อย่างไรก็ตาม SCA
ได้ตั้งข้อสังเกตว่า จนถึงขณะนี้ กสม. ยังไม่สามารถจัดทำารายงานให้แล้วเสร็จพร้อมกับเผยแพร่รายงาน
การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ตั้งแต่ช่วงปลายปี ๒๕๕๖
ได้เช่นเดียวกัน
(๔) ความเป็นอิสระและความเป็นกลาง (Independence and neutrality)
SCA ได้แสดงความห่วงกังวลมาก่อนหน้านี้ว่า มีเจ้าหน้าที่ของ กสม. หลายคน
(staff members of the NHRCT) ได้แสดงออกอย่างเปิดเผยถึงแนวคิดหรือการฝักใฝ่ทางการเมือง
(political affiliations) ในขณะปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการ ซึ่ง กสม. ได้ชี้แจงกลับไปว่า ได้ดำาเนินการ
ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางและสอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรมแล้ว
(๕) กระบวนการจัดทำาร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
พ.ศ. .... (Legislative process)
SCA รับทราบถึงความพยายามที่แข็งขันของ กสม. ที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการ
ปฏิรูปและการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมกับความตั้งใจที่จะมีข้อเสนอเพื่อขอแก้ไขกฎหมายจัดตั้ง
กสม. (enabling law) เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปารีสให้มากที่สุด โดยขอให้ กสม. ดำาเนินการต่อไป