Page 264 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 264

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 263











                                     (๓)  นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบรายงานของผู้แทนสำานักงานข้าหลวงใหญ่

                       สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of The High Commissioner for Human Rights (OHCHR))
                       ซึ่งทำาหน้าที่สนับสนุนและช่วยเหลือให้ ICC และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีปฏิสัมพันธ์กับกลไก

                       สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ  โดยเฉพาะคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ การรับรอง
                       งบประมาณประจำาปี ๒๕๕๗ จำานวน ๒๗๓,๕๐๐ แฟรงค์สวิส การจัดทำากรอบการดำาเนินงานสำาหรับ

                       คณะทำางานต่าง ๆ ภายใต้ ICC ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งการแก้ไขธรรมนูญของ ICC ให้มีความ
                       ชัดเจนและเป็นมาตรฐานการทำางานของคณะอนุกรรมการประเมินสถานะ หรือ SCA เป็นต้น

                                     สำาหรับการประชุมประจำาปี ครั้งที่ ๒๗ ที่ประชุมได้ตระหนักถึงสิ่งท้าทายในประเด็น
                       สิทธิมนุษยชนที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในทุกภูมิภาคกำาลังเผชิญอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการประท้วง

                       การจลาจลที่นำาไปสู่ความรุนแรง การเผชิญกับวิกฤติทางเศรษฐกิจ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความ
                       พยายามเคลื่อนไหวไปสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยภายใต้สถานการณ์เหล่านี้ สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                       จำาเป็นต้องแสดงบทบาทที่จะเชื่อมแนวทางปฏิบัติในระบบสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศให้เข้ากับแนวทาง
                       ในประเทศ  การที่สหประชาชาติได้รับรองข้อมติเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันสิทธิฯ เป็นประจำาทุกปี

                       จึงถือเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงการยอมรับถึงความสำาคัญของหลักการปารีสที่จะเป็นหลักประกัน
                       ในการสร้างความมีประสิทธิภาพของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                                     ในส่วนของการอภิปรายภายใต้ระเบียบวาระต่าง ๆ ในช่วงการประชุมประจำาปีของ ICC
                       ครั้งที่ ๒๗ มีอาทิ บทบาทความรับผิดชอบและโอกาสของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในกระบวนการ

                       UPR รอบที่ ๒ (ปี ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙)  ซึ่งสถาบันสิทธิฯ จะต้องมีส่วนร่วมในการนำาเสนอรายงานคู่ขนาน
                       กับรายงานของภาครัฐ รวมทั้งการสนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมคณะมนตรี

                       สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนการติดตามผลการส่งเสริมความสัมพันธ์
                       ระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับรัฐสภาตามหลักการกรุงเบลเกรดที่เห็นว่า สถาบันสิทธิฯ และ

                       รัฐสภาจะสามารถรับประโยชน์ซึ่งกันและกันในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                       กระบวนการประเมินสถานะ (accreditation review) ของสถาบันสิทธิฯ ที่เน้นเงื่อนไขสำาคัญตาม

                       หลักการปารีส (Essential requirement of the Paris Principles) ซึ่งประกอบด้วย การจัดตั้ง อำานาจหน้าที่
                       การผลักดันรัฐบาลให้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การมีปฏิสัมพันธ์กับระบบ

                       สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กระบวนการสรรหาและแต่งตั้ง รวมทั้งการทำาหน้าที่ติดตามและการมี
                       ข้อเสนอแนะ และการจัดทำาแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


                                 ๒)  การประชุม ICC Bureau ระหว่างวันที่ ๑๖ - ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๗
                                     ที่ นครโจฮันเนสเบิร์ก ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
                                     การประชุม ICC Bureau ในครั้งนี้ถือเป็นการประชุม ICC Bureau ครั้งสุดท้ายของ

                       กสม. ไทยก่อนสมาชิกภาพจะสิ้นสุดลง สำาหรับระเบียบวาระการประชุมได้ครอบคลุมประเด็นในเรื่อง

                       การบริหารจัดการและสถานะงบประมาณของ ICC อาทิ การจัดตั้งคณะทำางานของ ICC ว่าด้วยเป้าหมาย
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269