Page 268 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 268
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 267
กสม. ได้สมัครเป็นสมาชิกสามัญ (Full Member) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖
จนถึงปัจจุบัน (ธันวาคม ๒๕๕๗) APF มีสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในภูมิภาค
ที่เป็นสมาชิก รวมทั้งสิ้น ๒๒ แห่ง โดยแบ่งออกเป็นสมาชิกสามัญ (มีสิทธิในการออกเสียง)
จำานวน ๑๕ แห่ง ได้แก่ อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย จอร์แดน มาเลเซีย
มองโกเลีย เนปาล นิวซีแลนด์ ปาเลสไตน์ ฟิลิปปินส์ กาตาร์ เกาหลีใต้ ไทย และ
ติมอร์เลสเต้ และสมาชิกสมทบ หรือ Associate Member ซึ่งไม่มีอำานาจในการออกเสียง
แต่สามารถเข้าร่วมการประชุมภายใต้กรอบ APF ได้ในทุกระดับ จำานวน ๗ แห่ง ได้แก่
บังกลาเทศ มัลดีฟส์ โอมาน ซามัว เมียนมาร์ คาซักสถาน และศรีลังกา
สมาชิก APF จะมีการประชุมประจำาปี (Annual Meeting) เป็นประจำาทุกปี และการประชุมใหญ่
หรือ Biennial Meeting ในทุก ๒ ปี ซึ่งจะมีการเชิญผู้แทนรัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์การระหว่าง
ประเทศที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเพื่อหารือถึงความร่วมมือในด้านต่าง ๆ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบัน
สมาชิก ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจร่วมกัน
และการช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคที่ต้องการจัดตั้งสถานบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นต้น ทั้งนี้ อาจ
กล่าวได้ว่า APF เป็นกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในระดับภูมิภาคที่มีความ
เข้มแข็งที่สุดในปัจจุบัน
ในรอบปี ๒๕๕๗ กสม. มีกิจกรรมที่สำาคัญภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ดังนี้
๑) การประชุมประจำาปี (Annual Meeting) ครั้งที่ ๑๙ ระหว่างวันที่ ๓ – ๕ กันยายน ๒๕๕๗
ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
การประชุม APF ในครั้งนี้มีประเด็นสำาคัญที่เกี่ยวข้องกับบทบาทการดำาเนินงานของ กสม.
ในกรอบ APF และ ICC ดังนี้
(๑) วาระดำารงตำาแหน่งของผู้แทน APF ใน ICC Bureau
ประธาน กสม. ของไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนของ APF เพื่อดำารงตำาแหน่ง
สมาชิก ICC Bureau ซึ่งเป็นองค์กรบริหารสูงสุดของ ICC มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ๒๕๕๕ และจะหมด
วาระในปี ๒๕๕๗ โดยผู้ที่จะเข้ามาดำารงตำาแหน่งแทน คือ กสม. ของมองโกเลีย ซึ่งจะทำาหน้าที่ประธาน APF
คนถัดไปในช่วงเดือนสิงหาคม ๒๕๕๘