Page 266 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 266

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 265











                       ความชัดเจนเพิ่มขึ้นอีกหลายประเด็น  โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                       พ.ศ. .... ที่ยังอยู่ในระหว่างรอการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร การจัดทำารายงานสถานการณ์การชุมนุม
                       ทางการเมือง เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ ซึ่งมีความล่าช้าไม่ทันต่อเหตุการณ์และใช้เวลานานถึง ๓ ปี

                       กว่าจะดำาเนินการแล้วเสร็จ การขาดบทบัญญัติในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสมาชิกในระหว่างการปฏิบัติ
                       หน้าที่ รวมทั้งกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งที่ขาดความหลากหลาย (pluralism)

                                     ต่อมา เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๗  SCA ก็ได้มีมติให้เลื่อน (defer) การทบทวนสถานะของ

                       กสม. ใน ICC ออกไปอีกครั้ง เป็นช่วงเดือนตุลาคม ๒๕๕๗  โดยประเด็นที่ยังอยู่ในข้อห่วงกังวลของ SCA
                       ได้แก่ เรื่อง ความคุ้มกันและความเป็นอิสระ (functional immunity and independence) เนื่องจาก

                       อาจเป็นช่องทางให้ถูกแทรกแซง หรือดำาเนินคดีโดยกลุ่มอิทธิพลจากภายนอก  หากไม่มีข้อความดังกล่าว
                       ปรากฏอยู่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  การสรรหาและแต่งตั้ง (selection and appointment) คณะกรรมการ

                       ตามรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ที่ไม่เปิดโอกาสต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม การรายงาน
                       สถานการณ์ทางการเมืองที่ล่าช้า ซึ่งนอกจากสถานการณ์เมื่อปี ๒๕๕๓ แล้ว ยังรวมถึงสถานการณ์การ

                       ชุมนุมทางการเมืองเมื่อช่วงปลายปี ๒๕๕๖ ถึงต้นปี ๒๕๕๗ ด้วย  นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่มีผู้กล่าวหาว่า
                       เจ้าหน้าที่ของสำานักงาน กสม. แสดงความคิดเห็นและการฝักใฝ่ทางการเมืองอย่างเปิดเผยระหว่างปฏิบัติ

                       หน้าที่  ซึ่งตามหลักการแล้ว การทำาหน้าที่ของ กสม. และสำานักงานต้องยึดหลักความเป็นอิสระ และ
                       ความเป็นกลางอย่างเข้มงวด  ขณะเดียวกัน SCA ได้ขอให้ กสม. รณรงค์เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติ

                       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ได้รับการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว
                                     การทบทวนสถานะของ กสม. มีขึ้นครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๗ ซึ่งผลปรากฏ

                       ว่า SCA ได้เสนอให้ลดระดับ กสม. ให้อยู่ในสถานะ ‘B’ ซึ่งจะมีผล ๑ ปี หลังการพิจารณา  ทั้งนี้ ตาม

                       ธรรมนูญ (Statute) ของ ICC ข้อ ๑๘.๑ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                       กสม. จะยังคงสถานะ ‘A’ ไปก่อนเป็นเวลา ๑ ปี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวชี้แจงข้อมูล
                       ความคืบหน้าในการดำาเนินการและจัดส่งเอกสารประกอบเพิ่มเติมเพื่อตอบข้อห่วงกังวลของ SCA

                       รวม ๕ ประเด็น คือ

                                     (๑)  กระบวนการสรรหาและการแต่งตั้ง กสม. (selection and appointment)

                                         SCA ให้ความสำาคัญในประเด็นเรื่องการสรรหาเป็นอย่างมาก เนื่องจากในกฎหมาย
                       ที่เกี่ยวข้อง (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการ

                       สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการนำาเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา)
                       ไม่มีบทบัญญัติที่ระบุถึงการปรึกษาหารือกันอย่างกว้างขวาง (broad consultation)  และการมี

                       ส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ในกระบวนการรับสมัคร (application) การคัดกรอง (screening) และ
                       กระบวนการสรรหารวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตำาแหน่งที่ว่าง รวมทั้งไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจน

                       ในการประเมินคุณสมบัติของผู้สมัครที่เหมาะสม
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271