Page 136 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 136
134 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๓.๓.๒ แนวคิดยกเลิกการเกณฑ์ทหารในประเทศต่างๆ
ต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ ๒๑ หลายประเทศไม่มีการเกณฑ์ทหารอีกต่อไป แต่อาศัยทหารอาชีพ
ที่มาจากอาสาสมัครที่ได้รับสมัครตามความต้องการกำาลังพล แต่หลายรัฐที่ได้ยกเลิกการเกณฑ์ทหารไปแล้ว
ยังสงวนอำานาจที่จะรื้อฟื้นการเกณฑ์ทหารในยามสงครามหรือเกิดวิกฤตการณ์ไว้ สาเหตุที่กองทัพหลายประเทศ
ยกเลิกการเกณฑ์ทหารและหันไปใช้ระบบทหารสมัครใจที่เห็นว่า มีประสิทธิภาพกว่านั้น เพราะประเทศไม่ได้อยู่
ในภาวะสงครามอีกต่อไป ในขณะที่การเกณฑ์ทหารต้องใช้งบประมาณมากในแต่ละปี
(๑) ประเทศยูเครน ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. ๒๐๑๓ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปฏิรูป
กองทัพโดยมีเป้าหมายให้มีทหารอาชีพ การปฏิรูปกองทัพนั้นจำาเป็นที่จะต้องสร้างกองทัพมืออาชีพที่จะสามารถ
ตอบสนองความท้าทายแบบใหม่ และการใช้อุปกรณ์ที่ทันสมัยที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งต้องมีการฝึกอบรมอย่าง
่
สมำาเสมอ
๒) ประเทศแอลเบเนีย ยกเลิกการเกณฑ์ทหารในปี ค.ศ. ๒๐๑๐ โดยรัฐสภาผ่านกฎหมาย
ยกเลิกการเกณฑ์ทหารเพื่อปฏิรูปกองทัพและเป็นการสร้างทหารอาชีพ สร้างโอกาสในการทำางานกับคนหนุ่มสาว
ซึ่งรัฐบาลอยู่ระหว่างการประเมินเงินเดือนสำาหรับกองกำาลังทหารภายใต้ระบบใหม่จะขยายสิทธิประโยชน์อื่นๆ
เช่น การเข้าถึงที่อยู่อาศัย ตลอดจนความก้าวหน้าในวิชาชีพ
(๓) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ในปี ค.ศ. ๒๐๐๑ โดยจะไม่อยู่
ภายใต้การเกณฑ์ทหารและจะถูกแทนที่ด้วยความสมัครใจของการบริการทางสังคม
(๔) ไต้หวัน จะยกเลิกการเกณฑ์ทหาร ในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ นี้ โดยให้เหตุผลในการยกเลิกว่า
เพื่อเป็นการลดขนาดของทหารและทำาให้เงินเดือนทหารสูงมากขึ้น
๔. หลักเกณฑ์ แนวคิด และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายระหว่างประเทศ
๔.๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ข้อ ๑ มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่างในตน มีเหตุผลและ
มโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ
ข้อ ๑๘ ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งความคิดมโนธรรม และศาสนา ทั้งนี้ สิทธินี้รวมถึงอิสรภาพ
ในการเปลี่ยนศาสนาหรือความเชื่อ และอิสรภาพในการแสดงออกทางศาสนาหรือความเชื่อถือของตนในการสอน
การปฏิบัติ การสักการบูชา และการประกอบพิธีกรรม ไม่ว่าจะโดยลำาพังหรือในชุมชนร่วมกับผู้อื่นและในที่
สาธารณะหรือส่วนบุคคล
๔.๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR)
ข้อ ๑๘
๑. บุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิในเสรีภาพทางความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้ย่อมรวมถึง
เสรีภาพในการมีหรือนับถือศาสนา หรือมีความเชื่อตามคตินิยมของตน และเสรีภาพในการแสดงออกทางศาสนา