Page 120 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 120
รายงานการศึกษาวิจัย ๑๐๑
เรื่อง สิทธิชุมชน และผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต
จะรวมกันในประเด็นแบบไหน แตอยางไรก็ตาม ในที่ประชุมระดับจังหวัดสงขลา เมื่อวันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๕
ณ หองประชุมโรงแรม วี.เอล. อําเภอหาดใหญ ไดมีขอเสนอดังตอไปนี้
๑) ศึกษาผลกระทบของโครงการที่ไดสรางเสร็จและเปดดําเนินการแลว ที่ผานมา
ยังไมมีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นของโครงการที่ไดดําเนินการไปแลว จึงควรมีการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้น
ใหครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแตเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดลอม สุขภาพ ของโครงการโรงแยกกาซธรรมชาติ
โรงไฟฟาสงขลา ทาเรือนํ้าลึกสงขลา ๑ อยางเปนระบบ เพื่อที่จะไดนําไปเผยแพรออกสูสาธารณะ รวมทั้ง
ใหคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาตินําเสนอตอหนวยงานที่เกี่ยวของ
๒) การศึกษาเรื่องกลุมผลประโยชนในแผนพัฒนาภาคใต แผนพัฒนาภาคใตไมใช
เรื่องบังเอิญ แตเปนการจงใจออกแบบเพื่อใหไดประโยชนแกคนบางสวน และทําใหคนอื่น เชน ชาวประมงอาจจะ
เสียหายถึงหมดอาชีพไปเลย การกําหนดแบบนี้มีกลไกในการทํางาน และกลไกในการแบงปนผลประโยชน
ตั้งแตสวนกลางกรุงเทพลงมาถึงสงขลา จึงควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อใหเห็นถึงกลุมผลประโยชนทั้งหมดที่เกี่ยวของ
กับการผลักดันแผนและโครงการตาง ๆ ภายใตแผนพัฒนาภาคใต
๓) จัดทําประเด็นรวม เรื่องอาหาร ที่ดิน ประมง และหยุดอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่
แหลงผลิตอาหารที่อาวจะนะ หาดสวนกง ใหเปนแหลงผลิตอาหารใหกับชาวสงขลา และรวมตัวกันเปนเครือขาย
รักษสงขลา เพื่อนําปญหาทั้งหมดไปนําเสนอตอผูวาราชการจังหวัด
๔) การมีสวนรวมในการจัดทําและกําหนดทิศทางการพัฒนาและแผนพัฒนาของชุมชน
ตนเองจังหวัดสงขลา ชาวบานไมตองการใหสงขลาพัฒนาเปนเมืองอุตสาหกรรมหนักเหมือนมาบตาพุด
จึงตองการที่จะมีสวนรวมในการทําและกําหนดทิศทางแผนของจังหวัดใหเปนแหลงผลิตอาหารของประเทศ
และโลก เปนเมืองการศึกษาและวัฒนธรรม เมืองที่มีผังเมืองชัดเจน รวมทั้งจังหวัดหรือรัฐตองสนับสนุน
ทุนวิจัยใหชุมชน ปจจุบันการจัดทําแผนพัฒนาจังหวัดสงขลา ทั้งระยะ ๔ ป ๑๐ ป และ ๒๐ ป ไดมีการดําเนินการ
ไปเกือบเสร็จสิ้นแลว โดยที่ประชาชนไมมีสวนรวมเลย ซึ่งนาจะมีผลกระทบตอชาวบาน ในกรณีนี้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหงชาติ ควรจะเปนตัวแทนชาวบานในการฟองรองใหหยุดแผนพัฒนาไวกอน
และควรสรางกลไกใหชาวบานที่ไดรับผลกระทบมารวมกันในการติดตามทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ
๕.๔ กรณีศึกษาจากกรณีรองเรียนจังหวัดสตูล
๕.๔.๑ สตูล ประตูเมืองอุตสาหกรรมและสะพานเศรษฐกิจพลังงาน
จังหวัดสตูลเดิมไมไดเปนพื้นที่เปาหมายของการพัฒนาที่ถูกบรรจุไวในแผนพัฒนาชายฝงทะเล
ภาคใต แตภายหลังจากที่มีเหตุการณสึนามิใน ป พ.ศ. ๒๕๔๗ ทําใหมีการทบทวนเสนทางยุทธศาสตรพลังงาน
ระหวางอันดามันและอาวไทย หลังจากนั้นเปนตนมา แนวสะพานเศรษฐกิจหรือแลนดบริดจ สตูล–สงขลา
จึงไดรับการผลักดันเปนเสนทางยุทธศาสตรพลังงานใหม โดยโครงการประกอบดวยทาเรือนํ้าลึกสองฝงทะเล
รวมถึงระบบขนสงและโครงขายคมนาคมที่จะเชื่อมตอระหวางกัน ในรายงานโครงการสํารวจออกแบบเพื่อ
การกอสรางทาเรือปากบารา โดย บริษัท เอทีที คอนซัลแตนท จํากัด รวมกับ บริษัท ทีม คอนซัลติ้งเอนจิเนียริ่ง
จํากัด และ บริษัท แปซิฟค คอนซัลแตนท จํากัด ภายใตการจัดจางของกรมการขนสงทางนํ้าและพาณิชยนาวี
(กรมเจาทา ในปจจุบัน) รายงานไดจัดทําแลวเสร็จในป พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีการกําหนดยุทธศาสตรการพัฒนา