Page 32 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 32

รายงานการศึกษาวิจัย  5
                                                             การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



                      บุคคลมีแนวโนมที่จะถูกสังคมตีตรามีลักษณะ 3 ประการ ไดแก (1) มีความผิดปกติทางกายภาพ เชน
               รางกายพิการหรือดอยความสามารถ (2) มีความเบี่ยงเบนทางดานวัฒนธรรมหรือกฎเกณฑมาตรฐานของสังคม เชน

               คนที่มีความผิดปกติทางจิต ผูติดยา หรือผูมีพฤติกรรมรักรวมเพศ และ (3) ความแตกตางทางเผาพันธุ เชื้อชาติ
               ชนชั้น ศาสนา เชน ชนกลุมนอย

                      การตีตราเปนการใหความหมายทางสังคมที่สงผลตอการรับรูของบุคคลในทางลบ การรับรูนี้อาจเปนสิ่งที่
               สัมผัสไดหรืออาจจะสัมผัสไมได บุคคลที่มีลักษณะพึงประสงคจะรูสึกอยูเหนือกวา (Superior) สวนบุคคลที่มี

               ลักษณะไมพึงประสงคจะรูสึกตํ่าตอย (Inferior) กระบวนการตีตราจึงเปนผลจากการเปรียบเทียบทางสังคม ทําให
               เกิดการแบงแยกและการลดคุณคา การตีตราจึงเปนตนทางของปญหาการเลือกปฏิบัติที่ตามมา

                      1.4.1  ระดับและปฏิบัติการเลือกปฏิบัติกับผูติดเชื้อเอชไอวี
                             การเลือกปฏิบัติตอผูติดเชื้อ อาจเกิดไดในทุกระดับ   ไดแก
                                                                      6
                             1. การเลือกปฏิบัติในระดับกฎหมายและนโยบาย หรือขั้นตอนการบริหารจัดการ ซึ่งรัฐมักจะ
               พิจารณาวาเปนความจําเปนในการปกปองคนทั่วไป ตัวอยางของมาตรการตีตราและการเลือกปฏิบัติในรูปแบบนี้

               อาจพบไดในขอบังคับในการตรวจเลือด/คัดกรองโรคเอดสในการทํางาน การจํากัดสิทธิ หรือขอหามของผูติดเชื้อ
               เอชไอวีในบางอาชีพ การหามผูติดเชื้อเดินทางเขาบางประเทศ การบังคับใหตรวจเอดสเพื่อขอใบอนุญาตทํางาน

               เปนตน
                             2. การเลือกปฏิบัติในระดับสถาบัน เชน สถานศึกษาในบางประเทศไมอนุญาตใหเด็ก

               ที่ติดเชื้อเขาเรียน การลอเลียนในกลุมนักเรียน การไมรับผูติดเชื้อเขาทํางาน หรือบางศาสนาบังคับใหมี
               การตรวจเลือดกอนจะรับเขาเปนนักบวช เปนตน

                             3.  การเลือกปฏิบัติระดับชุมชน ในสังคมที่มีระบบวัฒนธรรมที่ใหความสําคัญกับปจเจกบุคคล
               มักมองวาการติดเชื้อเอชไอวีเปนเรื่องของความไมรับผิดชอบ ในขณะที่สังคมที่มีวัฒนธรรมที่ใหความสําคัญกับสวนรวม

               การติดเชื้อเอชไอวีเปนเรื่องนาอับอายสําหรับครอบครัวและชุมชน ทําใหผูติดเชื้อถูกกีดกันและเลือกปฏิบัติ ทั้งใน
               ชุมชนและครอบครัวตนเอง

                      1.4.2  สาเหตุของการเลือกปฏิบัติและการตีตราตอผูติดเชื้อเอชไอวี
                             Richard Parker et.al. ชี้ใหเห็นวาสาเหตุสําคัญของการตีตราและการเลือกปฏิบัติ

               ตอผูติดเชื้อเอชไอวีวา นอกจากจะมาจากการถูกจัดประเภทวาไมปกติ ทั้งในแงของพฤติกรรมทางเพศที่ผิดไปจาก
               คนทั่วไป เชื้อชาติ (เชน มายาคติทางเชื้อชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของคนผิวดํา) และชนชั้น (คนจน

               มีความเสี่ยงในการติดเชื้อมากกวาคนรวย) แลว ยังมาจากความหวาดกลัวการติดเชื้อและอาการของโรคดวย สาเหตุ
               ของการตีตราและเลือกปฏิบัติเหลานี้มักมีความเชื่อมโยงและสงอิทธิพลซึ่งกันและกัน และยิ่งทําใหปญหาการตีตรา

               และเลือกปฏิบัติหยั่งรากลงไปมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเขาเรียกวงจรนี้วาเปน วงจรอุบาทวของการตีตราและเลือกปฏิบัติ
               ตอผูติดเชื้อ (vicious circle of stigma and discrimination) ซึ่งเกิดขึ้นสืบเนื่องกัน ดังนี้

                             ขั้นแรก เนื่องจากการติดเชื้อเอชไอวีมักเกี่ยวของกับกลุมหรือผูที่มีพฤติกรรมที่ผิดไปจากคนสวนใหญ
               ในสังคม บุคคลที่ติดเชื้อมักจะถูกตั้งขอสันนิษฐานวา เปนคนชายขอบของสังคมและอาจจะถูกตีตราในสิ่งที่พวกเขา




               6   Richard Parker et.al. HIV/AIDS-related Stigma and Discrimination: A Conceptual Framework and an Agenda for Action. Horizons
                 Program, 2002 [online] available at http://hivaidsclearinghouse.unesco.org/search/resources/horizons.pdf
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37