Page 14 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 14

รายงานการศึกษาวิจัย  IX
                                                          การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



               2. ขอคนพบจากการศึกษา

                      2.1  สถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี ผลกระทบ และเหตุปจจัย

                           2.1.1  สถานการณการเลือกปฏิบัติ

                                  แมวารัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จะมีบทบัญญัติที่วาดวย
               ความเสมอภาคและการไมเลือกปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสาม  และมีแนวปฏิบัติการปองกันและจัดการดานเอดส
                                                                   5
               ในสถานประกอบกิจการของกระทรวงแรงงาน และแนวปฏิบัติแหงชาติวาดวยการปองกันและบริหารจัดการดานเอดส
               ในสถานที่ทํางาน ที่ออกโดย คณะกรรมการแหงชาติวาดวยการปองกันและแกไขปญหาเอดส (คช.ปอ.) แตจาก

               ขอมูลจากการศึกษา ทั้งจากการทบทวนเอกสารและการเก็บขอมูลภาคสนามของโครงการ พบวา ในปจจุบัน
               สถานการณการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี ยังปรากฏในทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับกฎหมาย/

               นโยบาย ระดับสถาบัน และระดับชุมชน ดังแสดงรายละเอียดโดยสังเขปดังนี้
                                  1) การเลือกปฏิบัติระดับกฎหมายนโยบาย มีการเลือกปฏิบัติในระเบียบยอยขององคกร

               บางแหง ในขั้นตอนของการรับสมัครงาน โดยเฉพาะที่ปรากฏในระเบียบของขาราชการตํารวจ และขาราชการ
               ฝายตุลาการ อยางไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณในตางประเทศ แมในประเทศที่มีกฎหมายหามเลือกปฏิบัติ

               อยางในกรณีเครือรัฐออสเตรเลีย และสหราชอาณาจักรเอง ก็ยังคงมีขอยกเวนในสถานการณดังกลาว ไดแก หลักการ
               คุณลักษณะที่สําคัญอยางยิ่งตอการปฏิบัติงานประเภทนั้น ในคําพิพากษาศาลสูงในคดี XV Commonwealth ของ

               เครือรัฐออสเตรเลีย ในกรณีของการปฏิบัติหนาที่ทหาร ซึ่งใหความสําคัญกับสุขภาพที่แข็งแรง หรือในขอยกเวนใน
               การไมปฏิบัติตามกฎหมายการเลือกปฏิบัติในประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งยกเวนไมบังคับในกรณีการประกอบอาชีพ

               เชน การรับราชการทหาร ตํารวจ และองคกรวิชาชีพ เชน เนติบัณฑิตยสภา (รายละเอียดดูในบทที่ 2)
                                     แมวาจะมีความพยายามใหมีการปรับปรุงแกไขระเบียบทั้ง 2 ฉบับในประเทศไทย

               แตดูเหมือนความพยายามดังกลาวจะไมประสบผล การเลือกปฏิบัติในระดับกฎหมายในประเทศไทย จึงเปนเรื่อง
               ที่แกไขไดยากที่สุด อยางไรก็ดี สําหรับกรณีผูติดเชื้อที่ทํางานในองคกรเหลานั้นอยูแลวในประเทศไทย เชน ในสังกัด

               สํานักงานตํารวจแหงชาติ ก็มีการรับรองเปนลายลักษณอักษรวา จะใหการสนับสนุนและใหปฏิบัติงานตามปกติ
                                  2) การเลือกปฏิบัติระดับสถาบัน เปนระดับที่มีปญหากวางขวางที่สุด โดยเฉพาะในนโยบาย

               การรับคนเขาทํางานในหลายประเภทกิจการ (รายละเอียดดูในตารางที่ 3) อยางไรก็ดี จากบทเรียนการดําเนินงาน
               ของกลไกที่มีสวนในการสงเสริมและคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อ การแกปญหาการเลือกปฏิบัติในระดับนี้ ดูจะมี

               ความหวังมากกวา โดยเฉพาะเมื่อสามารถทําความเขาใจกับนายจาง และสงผลใหเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย
               ในองคกรเหลานี้ได แตความพยายามแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในระดับสถาบัน ไมวาจะเปนจากมาตรฐาน ASO

               THAILAND หรือจากความพยายามของอนุกรรมการฯ ภายใต คช.ปอ. และองคกรในภาคประชาสังคม มักจะ
               ประสบผลเฉพาะรายกรณี มีเพียงไมกี่กรณีที่สามารถผลักดันใหเปลี่ยนแปลงนโยบายขององคกรในภาพรวมได

                                  3)  การเลือกปฏิบัติในระดับชุมชน เปนอีกระดับที่สงผลกระทบกวางขวาง และมีผลซํ้าเติม
               กับผูติดเชื้อที่ออกจากงานในระบบ และกลับมาอยูในชุมชน แตการเลือกปฏิบัติในระดับนี้ ดูจะเปนระดับที่แกไขได

               งายที่สุด โดยเฉพาะเมื่อผูติดเชื้อมีศักยภาพในการทําความเขาใจกับคนในชุมชนของตนเองได ก็จะทําใหสามารถ
               ดํารงชีวิตอยูไดตามปกติ ดังสามารถแสดงใหเห็นไดในตารางที่ 1

               5   รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 30 วรรคสาม  “การเลือกปฏิบัติโดยไมเปนธรรมตอบุคคลเพราะเหตุแหงความแตกตางในเรื่อง
                 ถิ่นกําเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา
                 อบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไมขัดตอบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ จะกระทํามิได”
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19