Page 11 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี
P. 11

VI  รายงานการศึกษาวิจัย
                การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี



                     1.3  ระเบียบวิธีการศึกษา

                          การศึกษาวิจัย เรื่อง การเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี เปนการวิจัยแบบมีสวนรวม

              (Participatory Research) ซึ่งเปนการวิจัยที่เปดโอกาสใหผูมีสวนไดสวนเสีย (Stakeholders) ไดมาสรางความรู
              รวมกัน (co-production of knowledge) โดยอาศัย “การประชุมเชิงปฏิบัติการของผูมีสวนไดสวนเสีย ครั้งที่ 1”

              (stakeholder’s workshop #1) เปนเวทีในการเริ่มตนตั้งโจทยวิจัย การพัฒนาเครื่องมือรวมกัน
                          การวิจัยแบบมีสวนรวมนี้ มีจุดเดนในแงที่นอกจากจะทําใหผูวิจัยสามารถเก็บขอมูลไดอยางลุมลึก

              รอบดานแลว ยังเปนโอกาสในการเสริมพลังทางดานความรูใหกับผูมีสวนไดสวนเสียที่มีสวนรวมในการวิจัยดวย
                          ดังที่ไดกลาวไวในสวนที่แลววา สาเหตุสําคัญของการตีตราและการเลือกปฏิบัติสวนหนึ่งมาจาก

              การขาดความรูความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับการแพรกระจายของเชื้อเอชไอวี คณะผูวิจัยจึงออกแบบใหการวิจัยครั้งนี้
              มีสวนในการพัฒนาความรูความเขาใจของคณะผูวิจัย และผูมีสวนไดสวนเสียไปพรอม ๆ กัน เพื่อใหขอเสนอ

              แนวทางการแกไขปญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อที่เปนจริง
                          เพื่อวัตถุประสงคดังกลาว ผูวิจัยจึงใชวิธีการเก็บขอมูล และประยุกตใชเครื่องมือในการเก็บขอมูล

              หลายอยางประกอบกัน ดังนี้

                          1.3.1  การวิจัยเอกสาร มี 2 ขั้นตอนที่ตอเนื่องกัน ดังนี้
                                 1) การศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคในการประกอบอาชีพ หลักการสิทธิมนุษยชน

              หลักการสากล และมาตรฐานสากลที่เกี่ยวของกับการปกปองคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี
              จากกฎหมายในประเทศไทยและตางประเทศ ปฏิญญาสากล กติกาและอนุสัญญาระหวางประเทศ เอกสาร

              ทางวิชาการ หนังสือ ตํารา รายงานการวิจัยที่เกี่ยวของในประเทศไทยและตางประเทศ รวมถึงการศึกษา
              เปรียบเทียบตัวอยางมาตรการของตางประเทศอยางนอย 3 ประเทศ โดยใหความสําคัญกับประเทศที่ประสบ

              ความสําเร็จในการคุมครองสิทธิของผูติดเชื้อ ประเทศที่มีกฎหมายหามการเลือกปฏิบัติในแบบตาง ๆ กัน
              เชน เครือรัฐออสเตรเลีย อาจเปนตัวอยางของประเทศที่มีมาตรการคุมครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ

              ในแบบเสรีนิยม สหราชอาณาจักรและเครือรัฐออสเตรเลียอาจเปนตัวอยางของประเทศที่มีนโยบายรัฐสวัสดิการ
              และอาจหยิบยกกรณีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต เชน สาธารณรัฐฟลิปปนสเปนอีกตัวอยางของ

              ประเทศกําลังพัฒนา เปนตน
                                 2) การวิเคราะหแนวทางและนโยบายการแกไขปญหาของรัฐบาลไทยในการคุมครองสิทธิ

              ในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวี โดยศึกษาจากระเบียบ ประกาศ นโยบายของรัฐ มาตรการทางกฎหมาย
              แนวทางการปฏิบัติและการดําเนินงานของหนวยงานตาง ๆ ที่เกี่ยวของ

                          1.3.2  การศึกษาสภาพการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อเอชไอวีในมิติตาง ๆ สาเหตุและปจจัย
              ที่ทําใหเกิดปญหา รวมทั้งผลกระทบในมิติสิทธิมนุษยชนตอการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผูติดเชื้อ

              อาศัยการเก็บขอมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งใหความสําคัญกับการทําความเขาใจและตีความขอมูลอยางลุมลึกในมุมมองแบบ
              คนใน และเก็บขอมูลเชิงลึกจากผูใหขอมูลหลัก (Key Informant) ซึ่งเปนผูที่สามารถใหขอมูลไดอยางชัดเจน จึงทําให

              สามารถไดผลการศึกษาที่หนักแนน และเชื่อถือได ซึ่งแตกตางจากการศึกษาเชิงปริมาณที่เนนการสรางขอสรุปทั่วไป
              (generalization) จึงตองใหความสําคัญกับจํานวนตัวอยางที่สามารถเปนตัวแทนประชากรได แตการเก็บขอมูล

              เชิงปริมาณจะไมสามารถแสดงใหเห็นปญหาเฉพาะบางประการ โดยเฉพาะการเลือกปฏิบัติไดชัดเจน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16