Page 68 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 68
๗
แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... แล้วเห็นว่ามีประเด็นที่
ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ดังนี้
๖.๒.๑ ประเด็นผู้มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน และ
กรรมการสหภาพแรงงาน
ในอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ ข้อ ๒ ใช้คำาว่า “คนทำางาน”
(workers) ซึ่งหมายถึง คนทำางานทุกประเภท แต่ตามร่างพระราช-
บัญญัติทั้งสองฉบับใช้คำาว่า “ลูกจ้าง” และได้ให้นิยามว่าหมายถึง
ผู้ซึ่งตกลงทำางานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง จึงยังมีคนทำางานอีก
มากมายหลายประเภทที่ไม่อยู่ในบังคับของร่างกฎหมายแรงงานทั้งสอง
ฉบับนี้ เช่น ผู้รับงานไปทำาที่บ้าน ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร
ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ
จึงเห็นควรที่แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... โดยใช้
คำาว่า “คนทำางาน” แทนคำาว่า ลูกจ้าง
ส่วนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ว่าสำานักงาน
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อจัดทำากฎหมาย
ให้ข้าราชการสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานได้ แต่ยังคงจำากัดขอบเขต
เฉพาะข้าราชการพลเรือนสามัญเท่านั้น
๖.๒.๒ ประเด็นการละเว้นการแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ
ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับมีบทบัญญัติที่เปิด
โอกาสให้เจ้าหน้าที่รัฐแทรกแซงการทำางานขององค์การลูกจ้าง ดังนี้
๗ ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. .... ฉบับที่ผ่านการตรวจของคณะกรรมการกฤษฎีกา
66 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน