Page 65 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 65
Declaration of Human Rights) ข้อ ๒๐ และข้อ ๒๓
กติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political
Rights) ข้อ ๒๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ
สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on Economic,
Social and Cultural Rights) ข้อ ๘ และได้รับการรับรองไว้ใน
อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour
Organization : ILO) ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศตั้งแต่ก่อตั้ง แต่ยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งเป็นอนุสัญญา
หลัก ๒ ใน ๘ ฉบับ ที่ว่าด้วยสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานที่องค์การ
แรงงานระหว่างประเทศให้ความสำาคัญที่สุด และพยายามรณรงค์ให้
ประเทศสมาชิกเข้าเป็นภาคีและนำามาปฏิบัติอย่างจริงจัง ในประเทศไทย
มีความพยายามเรียกร้องและผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รัฐบาล
เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ เช่น มีการเรียกร้องจากขบวนการ
แรงงานไทย ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๕ จนถึงปัจจุบัน การมีข้อเสนอแนะจาก
กระทรวงแรงงาน การที่ผู้แทนรัฐบาลไทยได้ให้คำามั่นโดยสมัครใจ
ภายใต้กลไกการรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ
ของสหประชาชาติ (Universal Periodic Review : UPR)
รอบที่หนึ่ง (ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๔) ว่าจะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
ILO ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับจะช่วยคุ้มครองและ
ส่งเสริมสิทธิของคนทำางานและนายจ้างในการสมาคมรวมตัวและเจรจา
ต่อรอง ลดปัญหาด้านแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและคนทำางาน
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน 63
การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว