Page 66 - การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน
P. 66
ลดปัญหาการละเมิดสิทธิแรงงาน โดยเฉพาะการเลิกจ้างเนื่องจากเป็น
สมาชิกสหภาพแรงงาน ทำาให้มีการจัดตั้งสหภาพแรงงานขนาดใหญ่
ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศไทย ช่วยคุ้มครองสิทธิ
ดังกล่าวของแรงงานนอกระบบซึ่งมีจำานวนมาก และช่วยให้หน่วยงาน
ของรัฐสามารถควบคุมตรวจสอบแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองไม่ถูก
กฎหมายได้ง่ายและทั่วถึง เปิดโอกาสให้มีการหารือระหว่างฝ่ายต่างๆ
ในการแก้ไขกฎหมายภายใน
ส่วนข้อกังวลที่ว่าการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาทั้งสองฉบับ
จะทำาให้แรงงานข้ามชาติตลอดจนทหารและตำารวจสามารถรวมตัวกัน
นัดหยุดงานได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศนั้น
เห็นว่า โดยหลักการสิทธิในการรวมตัวและการนัดหยุดงานสามารถ
จำากัดได้โดยการบัญญัติกฎหมาย และจำากัดได้เท่าที่จำาเป็นและ
ได้สัดส่วน นอกจากนี้ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ข้อ ๙ และฉบับที่ ๙๘
ข้อ ๕ ได้ให้แนวทางว่า ในการใช้บังคับกับกองกำาลังทหารและตำารวจ
ต้องกำาหนดไว้เป็นกฎหมาย กองกำาลังทหารและตำารวจที่ถืออาวุธ
กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติว่าไม่อาจนัดหยุดงานได้ รัฐควรจัดให้มีกลไก
พิจารณาเรื่องร้องเรียนของคนทำางานกลุ่มนี้ด้วย ส่วนข้าราชการนั้น
อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๙๘ ข้อ ๖ ได้กำาหนดว่า ให้อนุสัญญาฉบับนี้
ไม่ใช้บังคับกับข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารของรัฐ
ซึ่งหมายถึงผู้ดำารงตำาแหน่งระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี เป็นต้น
นอกจากนี้ เมื่อเข้าเป็นภาคีแล้วประเทศไทยมีเวลา ๑ ปี
เพื่อแก้ไขกฎหมายภายใน อีกทั้ง แม้ประเทศไทยไม่เข้าเป็นภาคี
ก็สามารถถูกตรวจสอบโดยคณะกรรมการเสรีภาพของการสมาคม
(CFA)
64 การเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว
และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง และการอนุวัติกฎหมายภายใน