Page 114 - โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
P. 114
๑๐๐
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนคลองกลาย นอกจากต่อสิ่งแวดล้อม
แล้วยังกระทบกับชุมชนจํานวนมาก คือ
ชุมชนในอ่างเขื่อน หากมีการสร้างอ่างเก็บน้ําคลองกลายจะทําให้น้ําท่วมพื้นที่
บ้านปากลง หมู่ที่ ๖ ตําบลกรุงชิง รวมถึงชุมชนอื่น ๆ ที่จะต้องมีการถูกอพยพออกจากพื้นที่ ได้แก่
ชุมชนท้ายอ่างเก็บน้ําคลองกลายเริ่มตั้งแต่ บ้านปากลง บ้านสวนปราง บ้านห้วยพาน บ้านพิตํา บ้านนบ
บ้านเขาเหล็ก บ้านหัวโคก บ้านโรงเหล็ก บ้านสวนกลาง บ้านในทอน บ้านนาเหรง และบ้านพังหรัน
รวมถึงชุมชนหน้าฝายทดน้ําคลองกลายเริ่มตั้งแต่ บ้านน้ําตก บ้านทอนผักกูด บ้านชุมโลง บ้านอินทนิน
บ้านนากุน บ้านสระแก้ว บ้านกลาย และบ้านศาลาสามหลัง
ที่ผ่านมาชาวบ้านได้รวมตัวกันคัดค้านการสร้างเขื่อนมาตลอด จนรัฐบาลได้
ประกาศยกเลิกการสร้างเขื่อนคลองกลายเมื่อปี ๒๕๕๑
(๒) โครงการก่อสร้างอ่างท่าทน
รายงานศึกษาความเหมาะสมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการ
พัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ๒๕๕๑ ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่าต้องจัดหา
แหล่งน้ําเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรม โดยระบุการจัดทําอ่างเก็บน้ําคลองท่าทน บ้านเผียนบน ตําบล
เทพราช อําเภอสิชล และการทดน้ําจากคลองพุมดวงโดยส่งทางระบบท่อ อ่างเก็บน้ําท่าทนมีหัวงาน
เขื่อนฝั่งขวาอยู่ในหมู่ที่ ๑๐ บ้านเผียนบน ตําบลเทพราช และฝั่งซ้ายอยู่ในเขตหมู่ที่ ๑๐ บ้านวังสร้าน
ตําบลฉลอง พื้นที่ก่อสร้างหัวงานเขื่อน ๓๖๐ ไร่ มีความยาวเขื่อนประมาณ ๑,๐๖๐ เมตร ความสูง
๓๙.๕๐ เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ํา ๘๕๕ ไร่ พื้นที่อ่างเก็บน้ําไปด้านเหนือ ๒ กิโลเมตร ประมาณ ๘๑ ไร่
ตั้งอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ (C) และยังอยู่ในเขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (E) อีก ๗๔๗ ไร่ นอกจากนี้ยังระบุให้เพิ่ม
พื้นที่บ่อพักน้ําดิบเป็น ๒๐๐ ไร่ เพื่อรองรับน้ําจากเขื่อนคลองกลายด้วย และยังพบการระบุไว้ในเอกสาร
แผนพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช พ.ศ. ๒๕๕๓–๒๕๕๖ ไว้ว่าจะมีการดําเนินการโครงการอ่างเก็บน้ํา
คลองท่าทน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖ ด้วยวงเงินงบประมาณปี ๒๕๕๔ จํานวน ๓๐๐ ล้านบาท
งบประมาณปี ๒๕๕๕ จํานวน ๕๓๘ ล้านบาท และงบประมาณปี ๒๕๕๖ จํานวน ๕๓๘ ล้านบาท รวม
เป็นงบประมาณทั้งสิ้น ๑,๓๗๖ ล้านบาท
พื้นที่โครงการสร้างอ่างเก็บน้ําท่าทนเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้
ซึ่งเป็นป่าต้นน้ําที่มีความสําคัญมาก เพราะมีสายน้ํา ๕-๖ สายมารวมกัน มีแหล่งน้ํา มีน้ําตก ลําคลอง
บริเวณริมห้วยริมคลองยังเป็นพืชพรรณอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ําของการประกอบอาชีพ
เกษตรกรรม ซึ่งสามารถเลี้ยงดูประชากรได้นับหมื่น บริเวณสองฝั่งคลองท่าทน เป็นแหล่งเศรษฐกิจที่
เลี้ยงชีวิตคนหลายครอบครัว และที่สําคัญคลองท่าทนเป็นแหล่งต้นน้ําที่หล่อเลี้ยงคนที่อยู่ในพื้นที่ราบ